การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชในเกษตรกร ทำสวนยางพารา ตำบลหนองเลิง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ
Keywords:
สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกรทำสวนยางพารา, pesticides, rubber trees agriculturistAbstract
บทคัดย่อ
การใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ถือว่าเป็นปัญหาด้านสุขภาพที่สำคัญในภาคการ เกษตรของประเทศไทย สาเหตุหลักเกิดจากการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีที่ไม่ถูกต้อง ในงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการจัดการความรู้โดยเน้นการเยี่ยมบ้านของอาสาสมัครสาธารณสุขต่อพฤติกรรมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรทำสวนยางพารา กลุ่มตัวอย่าง คือเกษตรกรในตำบลหนองเลิง อำเภอเมืองบึงกาฬ จังหวัดบึงกาฬ จำนวน 100 คน โดยเลือกแบบเจาะจง คือเกษตรกรจำนวน 50 คน ในหมู่ 12 เป็นกลุ่มทดลอง และเกษตรกรจำนวน 50 คน ในหมู่ 9 เป็นกลุ่มเปรียบเทียบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานได้แก่ Independent t-test, Paired t-test, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, McNemar test.
ผลการวิจัยพบว่า หลังการทดลองกลุ่มทดลองมีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง ความคาดหวังในความสามารถของตนเอง ความคาดหวังในประสิทธิผลของการตอบสนอง แรงสนับสนุนทางสังคม และการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ดีขึ้นกว่าก่อนทดลอง และดีกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05) และพบว่าหลังการทดลองการปฏิบัติตัวในการป้องกันอันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช มีความสัมพันธ์กับแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค และแรงสนับสนุนทางสังคมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value<.05)
ข้อเสนอแนะจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่ากระบวนการสร้างองค์ความรู้และความตระหนักในการป้องกันอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช ควรเป็นการจัดการความรู้ระหว่างกลุ่มเป้าหมายกับอาสาสมัครสาธารณสุข ซึ่งเป็นบุคคลคุ้นเคยและใกล้ชิด โดยการติดตามถึงบ้านเพื่อทำความเข้าใจและสร้างการยอมรับ ซึ่งเป็นการดำเนินงานเชิงรุกและเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในพื้นที่จริง เป็นปัจจัยสำคัญแห่งความสำเร็จในครั้งนี้
Abstract
The use of pesticides among Thai agriculturist was the important occupational health problem in Thailand. The main cause was unsafe preventive behavior. This research was to examine the effects of the knowledge management program with an emphasis on visiting the home of Volunteer public health on behaviors of the rubber trees agriculturist using pesticides. The samples were 100 agriculturist living in Nong Lueng sub dristrict, Muang BungKan district, BungKan Province, were selected by purposive sampling. Agriculturist 50 in Moo 12 were the experimental group and agriculturist 50 in Moo 9 were the comparison group. The data were collected by interview questionnaire. Data were analyzed by descriptive statistics were mean, percentage, S.D., and inferential statistics were Independent t-test, Paired t-test and Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, McNemar test.
The result found that the experimental group had motivated to prevent the hazard, Recognition of the risks, severity, expectation in their abilities, effectiveness, and social support.The preventive behavior from pesticides used had better than the comparison group (p-value<.05) and found that the preventive behavior from pesticides used were positive related to motivate hazard prevention and social support (p-value<.05)
Recommendations from this study. The process of building knowledge and awareness of the hazards of pesticides. Knowledge management should be between the agriculturist and volunteers public health, which are familiar and intimate by track closer at home to understand and accept which is a proactive operations and targeted in real space. This is a major factor of success.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้