การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา 4
Keywords:
ชุดกิจกรรมการเรียนรู้, การเรียนรู้แบบร่วมมือ, ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 1, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, activity package, cooperative learning, trigonometry function I, learning achievementAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ตามเกณฑ์ 70/70 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังเรียน กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 1 ผลการวิจัย พบว่า
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 1 มีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ 70/70 โดยมีค่า 80.54/81.12
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภายหลังการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 1 สูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ เรื่อง ฟังก์ชันตรีโกณมิติ 1 สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อยู่ในระดับมาก
Abstract
The purpose of this research were to develop and to test the efficiency of activity package according to 70/70 criteria compare student achievement with criteria 70 percent and study the satisfaction of Matayomsuksa 4 students attitude toward the activity package of trigonometry function 1.
The conclusions of study are as follows:
1. The activity package cooperative learning on trigonometry function 1 had the efficiency of 80.54/81.12 higher than the 70/70 criteria.
2. The mathematics achievement of the experiment group after being taught by using learning package through cooperative learning for Matayomsuksa 4 students was significantly higher than before being taught at the .05 level of significance.
3. The satisfaction of students attitude towards the activity package of trigonometry function 1 is in high level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้