การพัฒนาการอ่านและการเขียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านและเขียนไม่คล่อง โดยใช้ชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
Keywords:
การพัฒนาการอ่านและการเขียน, นักเรียนที่อ่านและเขียนไม่คล่อง, the development of reading and writing, student who was no reading and no writingAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ ของนักเรียนที่อ่านและเขียนไม่คล่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านและการเขียน ของนักเรียนที่อ่านและเขียนไม่คล่อง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนชั้นประถม ศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านและเขียนไม่คล่อง ปีการศึกษา 2554 โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1 จำนวน 10 คน ดำเนินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ จำนวน 9 เล่ม ใช้เวลาในการสอน จำนวน 27 ชั่วโมง โดยใช้แบบแผนการทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One Group pretest-posttest design)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านและเขียนไม่คล่อง จำนวน 9 เล่ม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านและเขียนไม่คล่อง จำนวน 9 เล่มๆ ละ 5 ข้อ รวม 45 ข้อ แบบวัดการอ่านและการเขียน จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์ค่าเฉลี่ย () ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลการเรียนรู้ด้วยสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็น อิสระต่อกัน (t-test for dependent) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านและเขียนไม่คล่องโรงเรียนบ้านโคกใหญ่ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 90.20/92.50
2. ผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านและการเขียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่อ่านและเขียนไม่คล่อง โรงเรียนบ้านโคกใหญ่ หลังการใช้ชุดฝึกแจกลูกและสะกดคำสูงกว่าก่อนการใช้ชุดฝึกฯ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Abstract
The purpose of this research were : 1) To development of reading and writing for Prathomsuksa 6 student who was no reading and no writing to be effective in criterion 75/75 by using Phonic Mehods, 2) To compare student achievement of reading and writing before and after using these exercises Phonic Methods. The sample purposively selected for student in Prathomsuksa 6 student who was no reading and no writing from Ban Khokyai school, Khokyai district, Loei province, Loei Primary Education Service Area Office1, inthe semester of academic year 2011. The research was using 9 exercises Phonic Methods within 27 hours, and use the experiment “One Group Pretest- Posttest Design”
The instrument used for data collecting were as follow: 9 exercises Phonic Methods for Prathomsuksa 6 student who was no reading and no writing , 45 items achievement test for Prathomsuksa 6 student who was no reading and no writing, 20 items reading and writing test. The data obained were analyzed by using mean (), standard deviation (S.D) and compare mean () t-test for dependent.
Research finding were as follow:
1. The Phonic Method package constructed by the researcher for Prathomsuksa 6 students who was no reading and no writing had efficiency in 90.20/92.50
2. After reading and writing through the exercieses Phonic Methods achievement were statistically higher than before the exercieses Phonic Methods at the .01 level significance.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้