การวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการจำแนกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19

Authors

  • นัฐพร แสนประสิทธิ์ นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ภัทราพร เกษสังข์ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ อาจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Keywords:

ผลการทดสอบระดับชาติ, การวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการจำแนก, achievement test ordinary national educational test, analysis of discriminante variable

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาการจำแนกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19 โดยมีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อวิเคราะห์หาตัวแปรที่มีอิทธิพลในการจำแนกนักเรียน  2) เพื่อสร้างสมการจำแนกนักเรียน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 3,931 คน จากโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดเลย  สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19  กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็นนักเรียนที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์สูงกับต่ำ จำนวน 540 คน ได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม และการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม 1 ฉบับ แบ่งออกเป็น 10 ตอน ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ .30 ถึง 1.00 และมีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์จำแนกประเภท (Discriminate analysis) แบบขั้นตอน (Stepwise method) ผลการวิจัยพบว่า :

1. ตัวแปรที่สามารถจำแนกกลุ่มนักเรียนที่มีผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ ปีการศึกษา 2553 กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ มี 7 ตัวแปร คือ การใช้เวลาในการศึกษาเพิ่มเติม  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ความคิดเห็นต่อการทดสอบระดับชาติ (O-NET) ของนักเรียน เจตคติต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ การจัดโครงการส่งเสริมการเรียนการสอนให้แก่นักเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างนักเรียนกับผู้ปกครอง และ บรรยากาศในชั้นเรียน ซึ่งมีน้ำหนัก 0.666  0.365  0.342   0.267  0.244  -0.241 และ -0.210 ตามลำดับ สมการจำแนกประเภทที่ได้สามารถจำแนกการเป็นสมาชิกได้ถูกต้องร้อยละ 85.70

2. สมการจำแนกประเภท ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน สามารถแสดงได้ ดังนี้

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ

Y = -7.008 + .926 TIME + .510 ACH+ .491 REV + .572 ATT+ .398 PRO - .318 RELA  - .261 CRI

สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน

Zy =  .666 ZTIME+ .365ZACH + .342ZREV + .267ZATT + .244ZPRO- .241ZRELA- .210ZCRI

ผู้บริหารโรงเรียน ฝ่ายวิชาการ ครูผู้สอน ควรพิจารณาถึงตัวแปรเหล่านี้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ที่จะเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

Abstract

This research was study the discrimination the Mathayomsuksa 3 students whose science subject scores of ordinary national educational test (O-NET) are  low and high  from the schools under the Secondary Educational Service Area Office 19, Loei province with the research purposes were : (1) to analyze the variables influencing the discrimination of students, and  (2) to construct the discriminate equation the students. 

The population used in the study were 3,931 Mathayomsuksa students from the schools under the Secondary Education Service Area Office 19, Loei province in 2554 academic year.  The cluster sampling and stratified random sampling technique were applied for 540 students by the high and the low achievers taken from results of the ordinary national educational test (O-NET). The research instrument for data gathering was a questionnaire with the discriminating ranging .30 -1.00 and the reliability of .80. The statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation and discriminate analysis by stepwise method.  The results found that :

1.  The 7 variables discriminated the students between the high and the low achievers  were  time spending on the study, achievement motive, students’ opinions about O-NET, the attitude towards science learning, the management of instructional enhancement for students, the relationship between the students and  parents and classroom atmosphere with  0.666 , 0.365, 0.342 , 0.267 , 0.244 , -0.241, -0.210  respectively. The obtained discriminate equation could accurately discriminate at 85.70 percent.

2. The discriminant equation in raw-score and standard-score form as below.

Predictive equation in the raw-score were :

Y = -7.008 + .926 TIME + .510 ACH+ .491 REV + .572 ATT+ .398 PRO - .318 RELA  - .261 CRI

Predictive equation in the standard-score were :

Zy =  .666 ZTIME+ .365ZACH + .342ZREV + .267ZATT + .244ZPRO- .241ZRELA- .210ZCRI

The administrators, academic affairs and teachers should consider these variables as the basic information for the guidelines of learning-teaching development for better quality and efficiency.

Downloads

How to Cite

แสนประสิทธิ์ น., เกษสังข์ ภ., & ศักดิ์ปกรณ์กานต์ น. (2017). การวิเคราะห์ตัวแปรที่มีอิทธิพลในการจำแนกนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อผลการทดสอบระดับชาติ (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ กลุ่มสูงและกลุ่มต่ำ ในโรงเรียนมัธยมศึกษาจังหวัดเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 9(28), 71–82. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100716