ปัจจัยที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย โดยการวิเคราะห์พหุระดับ

Authors

  • พิพัฒน์พงษ์ สมใจ นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ภัทราพร เกษสังข์ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • นฤมล ศักดิ์ปกรณ์กานต์ อาจารย์ ประจำคณะวิทยาลัยศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

Keywords:

การวิเคราะห์พหุระดับ, ยุทธศาสตร์การเรียนรู้, multi level analysis, learning strategies

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระระดับนักเรียน และตัวแปรอิสระระดับโรงเรียนกับยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  2)  ศึกษาตัวแปรอิสระระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย  3) ศึกษาตัวแปรอิสระระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ และสัมประสิทธิ์การถดถอย (Slope) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัว อย่างเป็นผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา (ขยายโอกาสทางการศึกษา) จำนวน  55 คน  ครูที่ปรึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน  55  คน และนักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1,190 คน จำนวน 55 โรงเรียน รวมจำนวนทั้งสิ้น จำนวน 1,300  คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบ 2 ขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ตัวแปรที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป คำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์การกระจาย ค่าความเบ้ ความโด่ง สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และทำการวิเคราะห์พหุระดับด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป HLM  ผลการวิจัยพบว่า

1.  ตัวแปรอิสระระดับนักเรียน ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่  การรับรู้ความสามารถของตนเองทางการเรียน การสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง  แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์  ลักษณะมุ่งอนาคต และเจตคติทางการเรียน  ตัวแปรอิสระระดับโรงเรียน ที่มีความสัมพันธ์ทางบวกกับยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ คุณภาพการสอนของครู  ขนาดของโรงเรียน อัตราส่วนของครูต่อนักเรียน ที่ระดับ .05 ได้แก่ ความเป็นผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร แหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ในโรงเรียน บรรยากาศทางการเรียนระดับการศึกษาของผู้บริหาร และประสบการณ์บริหารของผู้บริหาร  

2.  ตัวแปรอิสระระดับนักเรียนที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ เจตคติทางการเรียน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ การรับรู้ความสามารถของตนเองทาง การเรียน การสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง

3.  ตัวแปรอิสระระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  ตัวแปรอิสระระดับโรงเรียนที่ส่งผลต่อค่าเฉลี่ยยุทธศาสตร์การเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ คุณภาพการสอนของครู  และตัวแปรที่ส่งผลต่อสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรเจตคติทางการเรียน ที่ส่งผลต่อยุทธศาสตร์การเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ อัตราส่วนของครูกับนักเรียน ซึ่งส่งผลทางบวก

 

Abstract

This research  aimed : 1) to find out the relationship between the  independent variables  of student level and the school  level  and  the Mattayomsuksa 3 students’ learning strategies,  2) to investigate the student level independent variables  affected their  learning strategies, 3) to acquire the independent variables  of  the school level  affected  the learning strategies and regression coefficients (slope). The two-stage random sampling was employ for 1,300 research samples which consisted of 55 administrators,  55 the students’ advisers and 1,190 Mattayomsuksa 3 students  from 55 schools  under Loei Primary  Educational  Service  Area  Office.  The  research  instrument   for data  collection was a questionnaire which earned data were analyzed to obtain frequency, percentage, mean, standard deviation,  coefficient  of  variation, Pearson’s  product  moment  correlation  coefficient  and multi  level  analysis  by  HLM.   The  findings  showed  as  follows :

1.  The  independent variables  of  the student  level  which were  positive  relation  to learning strategies  with  the  statistical  significance  at  .01 level  were  the  self efficacy perception of learning, parental support for learning, achievement motivation, future orientation and attitude towards  learning.  The  school  level independent  variables  which were positive  relation  to  the learning strategies   with  the  statistical  significance  at  .01  level  were  the  child –centered  learning, quality  of instruction,  school sizes and the ratio  of teachers  to  students.  The  school  level independent variables  which  were positive  relation  to  the  learning strategies  with  the  statistical  significance  at  .05  level  were the  academic leadership,  learning resources, learning classroom atmosphere, administrator’s education level and the administrative experiences.

2.  The  student  level independent  variables affected  the  learning strategies   of  Mattayomsuksa 3 students  with  the  statistical  significance  at  .01  level were  the  attitude towards  learning,  achievement motivation, self – efficacy perception of learning and parental support for learning.

3.  The classroom level  independent variables affected the learning strategies  with the statistical significance at .01 level was the  child – centered  learning. And the classroom level independent variables affected the learning strategies  with the statistical significance at .05 level was the quality  of instruction.   The ratio of teachers  to  students was found that it  affected the regression coefficients of the  attitude toward  learning  practice which affected on student  learning strategies  with the statistical significance at .05  level.

Downloads