การวิเคราะห์ความต้องการ ปัญหา ความสามารถ และรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการพูดสื่อสาร ของพนักงานแผนกต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรม ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย

Authors

  • ศรีจิตรา นวรัตนาภรณ์ อาจารย์ ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ความต้องการ, ปัญหา, ความสามารถ, รูปแบบ, needs, p0roblems, abilities, forms

Abstract

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการ ปัญหา ความสามารถ และรูปแบบการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการพูดสื่อสาร ประชากรที่ศึกษาคือพนักงานแผนกต้อนรับส่วนหน้าของโรงแรม รีสอร์ท  ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเลย ที่ตอบรับให้ความร่วมมือจำนวน 20 โรงแรม พนักงาน 43 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับคะแนนและแบบวัดความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการพูดสื่อสาร ระเบียบวิธีวิจัยใช้แบบผสมผสานทั้งการศึกษาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติเชิงพรรณนาและการอนุมานค่าเฉลี่ยของประชากร วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา   ผลการศึกษาการใช้ภาษาอังกฤษที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 พบว่า

1. ความต้องการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญ

2. ปัญหาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญ

3. ความสามารถโดยภาพรวมสามารถสื่อสารได้ปานกลางอย่างมีนัยสำคัญ

4. รูปแบบกับสถานการณ์การสื่อสารโดยภาพรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

ข้อค้นพบที่สำคัญในงานวิจัยนี้ สะท้อนให้เห็นถึงพนักงานมีปัญหาความเข้าใจในการสื่อสารภาษาอังกฤษและวัฒนธรรมการพูดสื่อสาร พนักงานส่วนใหญ่ใช้ภาษาแบบไม่เป็นทางการ ดังนั้นควรมีการจัดอบรมหลักสูตรการใช้ภาษาอังกฤษในการพูดสื่อสารพร้อมทั้งเรียนรู้เกี่ยวกับสังคมวัฒนธรรมของประเทศเจ้าของภาษา เพื่อพัฒนาศักยภาพของบุคลากรรวมถึงองค์กรในการให้บริการที่ดีมีคุณภาพอย่างยั่งยืนในอนาคต และเพื่อเตรียมความพร้อมเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี 2558


Abstract

The purposes of this research were: to identify the needs, problems, abilities and forms in using English for oral communication of hotel front office staff in Muang District, Loei Province. Participants in this study were 43 front office staff from 20 hotels and resorts in Muang District, Loei Province. The research instruments used was a five-rating scale questionnaire and an English capability measurement.  A mixed methodology was applied with both quantitative and qualitative studies.  Quantitative collected data was analyzed by descriptive statistics and a sample t- test, while other qualitative data were analyzed by content analysis.

The research revealed the results in using English for oral communication at the significant level .05 as follows:

1. Needs were mostly at the high level significantly different.

2. Problems were mostly at the high level significantly different.

3. Communicative abilities were mostly at the moderate level significantly different.

4. Forms and situations were mostly different.

In addition, the important research results reflected that the hotel front office staff did not properly understand English and had social and cultural difficulties. The informal language forms were mostly used.   Therefore, the developing guide line, the English oral communication as well as social and cultural training courses for English speaking countries should be provided to improve the potential of front office staff and organizations for offering sustainable services in the future and to prepare the readiness for ASEAN Community in the year 2015. 

Downloads