ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539

Authors

  • อภิวัฒน์ จิตวิลัย นักศึกษา หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชากฎหมายมหาชน คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาเขตขอนแก่น

Keywords:

ระยะเวลาการออกคำสั่งทางปกครอง, คำสั่งทางปกครอง, วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง, the duration of the administrative order, administrative order, administrative procedures

Abstract

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาความเป็นมาและความสำคัญของปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดนิติกรรมทางปกครองและระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครอง ตามมาตรา 39/1 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 และแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการออกคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน

ผลการศึกษาพบว่าบทบัญญัติ มาตรา 39/1 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองดังกล่าวมีประเด็นปัญหาทางกฎหมายบางประการดั่งต่อไปนี้

1.  ถ้อยคำที่ว่า “ ...หากมิได้มีกฎหมายหรือกฎกำหนดระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้เป็นประการอื่น...” นั้นอาจจะทำให้เกิดการขัดหรือแย้งต่อสถานะความเป็นกฎหมายกลาง ตามมาตรา 3 แห่งกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2539

2.  บทบัญญัติมาตรา 39/1 แห่งกฎหมายดังกล่าว ไม่ได้กำหนดผลของคำสั่งทางปกครองในกรณีที่เจ้าหน้าที่ออกคำสั่งทางปกครองไม่แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนั้นจะมีผลทางกฎหมายเป็นอย่างไร

3.  บทบัญญัติมาตรา 39/1 แห่งกฎหมายดังกล่าว ไม่มีมาตรการบังคับแก่ตัวเจ้าหน้าที่ผู้มีอำนาจทำการพิจารณาทางปกครอง หากปรากฎว่าเจ้าหน้าที่ไม่ออกคำสั่งทางปกครองให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด

เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษาวิเคราะห์ โดยเห็นควรมีการปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวิธิปฎิบัตาชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 มาตรา 39/1 โดยการตัดถ้อยคำว่า “...หากมิได้มีกฎหมายหรือกฎกำหนดระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครองในเรื่องนั้นไว้เป็นประการอื่น...” ออก เพื่อรักษาสถานะความเป็นกฎหมายกลาง ตามมาตรา 3 แห่งกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 และให้ผู้บังคับบัญชาของเจ้าหน้าที่ลงโทษทางวินัยกับเจ้าหน้าที่ หากปรากฎข้อเท็จจริงว่าเจ้าหน้าที่ไม่ได้ออกคำสั่งทางปกครองภายในระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันที่ได้รับคำขอและเอกสารถูกต้องครบถ้วน ในส่วนผลของคำสั่งทางปกครองที่ออกเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดกรณีนี้จึงต้องอาศัยการตีความการใช้บังคับกฎหมายปกครองแต่ละฉบับว่าระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดนั้นระยะเวลาใดเป็นระยะเวลาบังคับหรือระยะเวลาเร่งรัดเป็นกรณีกรณีไป ทั้งนี้ เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน

 

Abstract

This article aims to study the background and importance of relevant legal issues. With regard to the concept of administrative acts and the time limit for the issuance of administrative orders under Section 39/1 of the Administrative Procedure Act, B.E. 2539 (1996), amended by the Act on Administrative Procedure (No. 2) BE 2557 and solutions to legal issues related to the issuance of administrative orders within the period prescribed by law. From the date of receipt of the request and the documents are complete.

The results of the study found that the provisions of Section 39/1 of the Administrative Procedure Act mentioned some legal issues as follows.

1.  The words "... if no law or rule specifies the length of the administrative order in that matter. Otherwise ... " may be contrary to or inconsistent with the status of a central law under Section 3 of the Administrative Act BE 2539.

2.  Provisions of Section 39/1 of the said Law. Does not set the effect of the administrative order in the case when the administrative order was not completed within the time required by law to have legal effect.

3.  The provisions of section 39/1 of the said law. There are no mandatory measures for the competent authority to conduct administrative hearings. If it turns out that the officials do not issue administrative orders within the specified period.

As a guide to correct such problems. The researcher has suggested that the study should be revised by the amendment to the Act on the Administration Act BE 2539, Section 39/1 by the wording "... If there is no law or regulation, the time limit for issuing administrative orders in that matter is ... "to maintain the status of the central law under Section 3 of the Cloister Protection Act. 2539, and the commanding officer of the disciplinary action against the officer. If it turns out the fact that deputies did not. Issued the administrative order within the time prescribed by law from the date of receiving the application and documents are accurate and complete. The results of the administrative order issued after the expiration of the time permitted by law, this case requires interpretation. Enforcement of individual governing law means that the period of time required by law is a mandatory period. Or rush time as the case may be, in order to protect the rights and freedoms of the people.

Downloads

How to Cite

จิตวิลัย อ. (2017). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับระยะเวลาในการออกคำสั่งทางปกครอง ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 12(40), 8–19. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100774