ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง

Authors

  • สมพร ฟุ้งสกุล นักศึกษา หลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขานิติศาสตร์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

Keywords:

หลักความเป็นกลาง, การพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่, เหตุที่มีสภาพร้ายแรง, impartiality, administrative’s official consideration, serious conditions

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครองของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง โดยศึกษาในเรื่องของผลทางกฎหมายของกรณีที่มีการฝ่าฝืนต่อหลักความเป็นกลาง อีกทั้งศึกษาในเรื่องของความไม่ชัดเจน ในประเด็นที่บัญญัติว่า เหตุอื่นใดเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ หรือกรรมการในคณะกรรมการที่มีอำนาจพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงอันอาจทำให้การพิจารณาทางปกครองไม่เป็นกลาง             

จากการศึกษาพบว่า ตามพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มิได้มีบทบัญญัติในเรื่องผลของการพิจารณาหรือคำสั่งทางปกครองที่ออกโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 13 และมาตรา 16 ไว้เป็นการเฉพาะ กรณีการฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 13 และมาตรา 16 จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ทั่วไปในเรื่องผลของคำสั่งทางปกครอง ซึ่งมาตรา 42 วรรคสอง วางหลักว่าคำสั่งทางปกครองเมื่อเกิดขึ้นแล้วจะมีผลเรื่อยไปจนกว่าจะถูกเพิกถอนหรือสิ้นผลลงโดยเงื่อนเวลาหรือโดยเหตุอื่น และบทบัญญัติที่ก่อให้เกิดปัญหาในแง่ที่จะพิจารณาว่าพฤติการณ์อื่นนอกจากที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 มีข้อพิจารณาและขอบเขตอย่างไรบ้างที่จะถือว่า เป็นการพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรง เนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้ในลักษณะกว้างให้เป็นดุลพินิจของเจ้าหน้าที่ในแต่ละหน่วยงานเป็นผู้พิจารณาวินิจฉัย โดยที่ไม่มีแนวทางหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนเป็นเครื่องช่วยในการพิจารณา แนวทางการพิจารณาทางปกครองซึ่งมีสภาพร้ายแรงจึงออกมาในลักษณะหลากหลายไม่มีมาตรฐานในการปฏิบัติ ผลการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้ข้อสรุปและข้อเสนอแนะสำหรับการพิจารณาของเจ้าหน้าที่จะได้ให้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักความเป็นกลาง

 

Abstract

The research aims to study on the impartiality of the administrative’s official consideration regarding the law on administrative procedure. Studies on the subject of legal effects of the cases that are in violation of the neutrality a well educated on the subject of vagueness in that provision any other cause about officials or directors the board has the authority to consider. The administrative has are serious conditions may cause administrative considerations, is not neutral.

The study found that legal problems encountered are according to the Administrative Procedure Act 2539. which is not the provisions in the consideration or administrative orders issued in violation of the provisions of section 13 and section 16 specifically in case of violation of the provisions of section 13 and section 16 must be in accordance with the general guidelines regarding the outcome of the administrative order. Which section 42 paragraph two put the principle that administrative orders when it happens will result continuously until revoked or the end of by time or by other causes and the provisions pose the problem in terms to consider circumstances other than as provided in section 13 that have some considerations and scopes. How ever, the administrative considerations, has a serious condition because of  a wider manner. The discretion of the officials in each agency will determine the diagnosis without clear guidelines as an aid in consideration for considering the rule that has various styles, are not standard in practice. The results of this research lead to the conclusions and recommendations for consideration by the officer to perform the correct neutrality.

Downloads

How to Cite

ฟุ้งสกุล ส. (2017). ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับหลักความเป็นกลางในการพิจารณาทางปกครอง ของเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 12(40), 20–31. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100776