การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารทรัพยากรน้ำในการอุปโภคบริโภค ขององค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย
Keywords:
การมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการน้ำ, participation of population in water resources managementAbstract
บทคัดย่อ
วัตถุประสงค์ของการศึกษาวิจัยครั้งนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารทรัพยากรน้ำในการอุปโภคบริโภค ขององค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารทรัพยากรน้ำในการอุปโภคบริโภค ขององค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยจำแนกตาม เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ รายได้ ระดับความถี่ในการติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยใช้เครื่องมือการวิจัยที่เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตามขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างของประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณครั้งนี้ ได้แก่ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย จำนวนทั้งสิ้น 349 คน
ผลการศึกษาการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารทรัพยากรน้ำในการอุปโภคบริโภค ขององค์การบริหารส่วนตำบลกกทอง อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย โดยภาพรวม มีส่วนร่วมอยู่ในระดับน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการร่วมรับผลประโยชน์การบริหารทรัพยากรน้ำในการอุปโภคบริโภค อยู่ในระดับปานกลาง ทั้งนี้อาจเป็นเพราะประชาชนในชุมชนเกือบทุกหลังคาครัวเรือนได้รับประโยชน์จากแหล่งน้ำที่มีอยู่ ทั้งใช้ในการอุปโภคและบริโภค มีส่วนร่วมในการปฏิบัติการ เพื่อบริหารทรัพยากรน้ำ อยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะด้วยประชาชนโดยส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ทำให้เหนื่อยล้าจากการทำงาน เมื่อมีการจัดกิจกรรมขึ้นจึงไม่ค่อยได้ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม อีกทั้งงานเกษตรกรรมบางอย่างจะละทิ้งไม่ได้ จึงปล่อยให้เจ้าหน้าที่หรือหน่วยงานดำเนินการกันเอง มีส่วนร่วมในการตัดสินใจในการบริหารทรัพยากรน้ำในการอุปโภคบริโภค อยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะประชาชนโดยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวมากพอ จึงไม่กล้าตัดสินใจหรือร่วมวางแผนดังกล่าวฯ และปล่อยให้เป็นของท้องถิ่นดูแลรับผิดชอบ บางส่วนก็อาจคิดว่าตัดสินใจไปก็เปล่าประโยชน์ และมีส่วนร่วมในกิจกรรมการตรวจสอบและติดตามประเมินผล อยู่ในระดับน้อย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะประชาชนโดยส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการตรวจสอบและติดตามประเมินผล หรืออาจคิดว่าเป็นเรื่องขององค์การบริหารส่วนตำบลกกทองหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เป็นผู้ดำเนินการตรวจสอบและติดตามประเมินผลเท่านั้น
Abstract
The purpose of this research were to : 1) to study level the participation of population in water resources administration for consume at Kokthong sub-district administrative organization, Muang, Loei. 2) to compare the different participation level of population in water resources administration for consume at Kokthong sub-district administrative organization, Muang, Loei by distinguishing followed sex, age, education, career, salary, and frequency level of connection with Kokthong sub-district administrative organization This research was quantitative. The tool used for data collection was a questionnaire, and formal interview by steps. The sample size of quantitative research was 349 populations in Kokthong sub-district administrative organization, Muang, Loei.
The results of the study were:
The participation of population in water resources administration for consume at Kokthong sub-district administrative organization, Muang, Loei as a whole was at low level, by aspect were the population participated in advantages of water resources administration for consume was at middle level; may was the most of population in community got advantages from water resource for using and consume. The participation in perform for the water resources administration was at low level; may be the most of populations were an agriculture, so made them tried from working ; they didn’t interest in participation of the activities, and some work cannot abandon. The participate of deciding in water resources administration or consume was at low level; may was the most of population were not enough knowledge and understanding: so made them made cannot deciding or planning ; so let’s responsible to local organization, and participation in checking and evaluation activity was at low level; may was the most of population no had knowledge and no understanding about checking and evaluation; may was they thought that it was only manage especially the part of Kokthong sub-district administrative organization or other organization.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้