ยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่น ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
Keywords:
การบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่น, educational Information service for local servicesAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นการบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่น 2) สร้างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่นของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 3) ทดลองและประเมินผลยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่นของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์จากกลุ่มเป้าหมายคือผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 10 คน แบบสอบถามความต้องการจำเป็นกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) กับผู้เกี่ยวข้อง 20 คน เพื่อสร้างยุทธศาสตร์โดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์ SWOT Analysis แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์จากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 6 คน แบบประเมินการจัดนิทรรศการสารสนเทศทางการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน แบบประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการเว็บไซต์สารสนเทศทางการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นจำนวน 93 คน และแบบประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 120 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยายได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ผลการศึกษาสภาพและความต้องการจำเป็นการบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่น พบว่า กรอบประเด็นสารสนเทศทางการศึกษาด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นมี 8 ด้าน คือ 1) ด้านภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น 2) ด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น 3) ด้านผักพื้นบ้านอาหารท้องถิ่น 4) ด้านแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 5) ด้านศิลปหัตถกรรม 6) ด้านเกษตรกรรม 7) ด้านเครื่องมือเครื่องใช้ 8) ด้านคติและความเชื่อ เมื่อเรียงลำดับความต้องการจำเป็นมากที่สุดใน 3 อันดับแรก ได้แก่ 1) ด้านแพทย์แผนไทยและสมุนไพร 2) ด้านผักพื้นบ้านอาหารท้องถิ่น และ 3) ด้านคติและความเชื่อ ส่วนความต้องการจำเป็นน้อยที่สุด คือ ด้านวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2. ผลการสร้างยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่นของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ได้วิสัยทัศน์ คือ การบริการและพัฒนาสารสนเทศทางการศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้สู่ท้องถิ่น มี 4 ประเด็นยุทธศาสตร์ ได้แก่ 1)การค้นหาสารสนเทศด้านภูมิปัญญาท้องถิ่น 2)การพัฒนาระบบสารสนเทศทางการศึกษาท้องถิ่น 3)การถ่ายทอดสารสนเทศทางการศึกษาของท้องถิ่น 4) การบริการสารสนเทศทางการศึกษาของท้องถิ่นให้มีประสิทธิภาพ และการประเมินความความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของยุทธศาสตร์ในภาพรวม พบว่า ความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.81, S.D. = 0.39) และความเป็นไปได้อยู่ในระดับมาก (= 4.30, S.D. = 0.55)
3. ผลการทดลองและประเมินผลยุทธศาสตร์การส่งเสริมการบริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่นของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย พบว่า ระดับการประเมินต่อการจัดการนิทรรศการสารสนเทศทางการศึกษาด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นในภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับดีมาก (= 4.74, S.D. = 0.36) การประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการเว็บไซด์สารสนเทศทางการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นภาพรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (= 4.48, S.D. = 0.54) และผู้ใช้บริการมีความพึงพอใจการให้บริการสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อบริการท้องถิ่นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.04, S.D. = 0.73)
Abstract
The objectives of this study were 1) to study states and necessary needs of the educational information service for local services 2) to create the strategies of supporting the educational information service for local services and 3) to examine and estimate the strategies of supporting the educational information service for local services of LRU Learning Resource Center and Information Technology. The ways of collecting information were 10 interviewees. Questionnaires were from 370 informants. There were 20 stakeholders attending workshop to create the strategies using SWOT analysis after that six experts to evaluate the feasibility of the strategies. Experiments and evaluation regarding IT local wisdom exhibition using 5 experts, website satisfaction using 93 persons, and target group satisfaction using 120 persons were undertaken. The data were analyzed using descriptive statistics, including percentage, mean and standard deviation.
The results of research were concluded as follows:
1. The results of studying state and necessary needs of the educational information services for local services found 8 concepts of educational information for local wisdom 1) language and local literature 2) local culture and custom 3) local vegetables and food 4) Thai traditional medicine and local herbs 5) art and crafts 6) agriculture 7) instruments 8) folklore and beliefs. The three most necessary needs were 1) Thai traditional medicine and local herbs 2) local vegetables and food and 3) folklore and beliefs whereas one least necessary need was local culture and custom.
2. The results of strategy creativity found vision as “Services and Development for Educational Information to Local Resources” and four strategic issues: 1) searching for local wisdom information 2) developing education information system for local wisdom 3) passing on education information 4) effective local education information services. And evaluation of the feasibility of the four strategic issues were found the appropriateness was at the highest (= 4.81, S.D. = 0.39) and the possibility was at a high level (= 4.30, S.D. = 0.55).
3. The results of examining and estimating the strategies found the level of evaluation regarding IT local wisdom exhibition was overall at a high level (= 4.74, S.D. = 0.36); the website satisfaction was at a high level (= 4.48, SD = 0.54); target group satisfaction was at a high level (= 4.04, S.D. = 0.73).
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้