สภาพการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานส่วนตำบล ในเขตอำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง, ความรู้ความเข้าใจ, สภาพการปฏิบัติงาน, concept of sufficiency economy, knowledge and understand, working situationsAbstract
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง สภาพการปฏิบัติงานภายใต้แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพนักงานส่วนตำบลในเขต อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการปฏิบัติงาน ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2) เพื่อศึกษาระดับความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาได้ศึกษาจากประชากรคือ พนักงานส่วนตำบลในองค์การบริหารส่วนตำบลโนนสมบูรณ์ และพนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแซง อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายที่ศึกษาจำนวน 80 คนโดยใช้วิธีการเก็บข้อมูลโดยวิธีสำรวจโดยใช้แบบสอบถามและการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่และค่าร้อยละ และนำเสนอในลักษณะพรรณนาความ ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการปฏิบัติงานตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงพบว่ากลุ่มตัวอย่างมีการปฏิบัติตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมาก 2) ระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงของกลุ่มตัวอย่างในภาพรวม พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงในระดับมากเช่นกัน
Abstract
This research aimed to study 1) working situations under the concept of sufficiency economy of the personnel in sub – district office of Banhad district in Khon Kaen. 2) Level of knowledge and understanding about sufficiency economy concept. The populations were personnel in sub – district office of Banhad district in Khon Kaen province. The sample included 80 personnel. This is a survey research using a set of questionnaire to collect data. The target group data were analyzed by percentage and frequency, then reported in descriptive manner. It was found that 1) the working situations under the concept of sufficiency economy of the personnel were practiced at high level and, 2) level of knowledge and understanding were at high level as well.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้