การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านกกโพธิ์แสนเอี้ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3

Authors

  • ทิพรัตน์ ศรีจำปา ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านกกโพธิ์แสนเอี้ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3
  • พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์ อาจารย์ ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ทักษะการอ่านการเขียน, มาตราตัวสะกด, reading and writing skills, final consonant sounds

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2)  เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง มาตราตัวสะกด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน เรื่อง มาตราตัวสะกด  3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

กลุ่มเป้าหมาย คือ  นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ปีการศึกษา 2553  โรงเรียนบ้านกกโพธิ์ แสนเอี้ยม  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เลย เขต 3 จำนวน 13  คน

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 9 ชุด 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน หลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 10 ข้อ

การวิเคราะห์ข้อมูลหาค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้สูตร E1 และ E2 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการใช้ค่าสถิติ t – test  (Dependent  samples) และวิเคราะห์ความพึงพอใจที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่าน โดยหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า :

1. การสร้างและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 82.03/81.20 (E 1 =82.03 / E2 = 81.20) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้ คือ 80/80

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระ การเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่อง มาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.16) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อโดยเรียงจากมากไปหาน้อยสามอันดับ ดังนี้  กิจกรรมการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมตามประสบการณ์ของตนได้ดีขึ้น ( =4.54) รองลงมาได้แก่ กิจกรรมการเรียนรู้มีความหลากหลาย เร้าความสนใจของนักเรียน  และรูปแบบกิจกรรมในแบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนมีความหลากหลาย ( =  4.38 ) กิจกรรมการเรียนรู้มีความน่าสนใจ ( =4.31) และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ แบบฝึกทักษะการอ่านการเขียนมีความยากง่ายเหมาะสม และ แบบฝึกทักษะการอ่าน การเขียนมีคำแนะนำชัดเจน อ่านเข้าใจง่าย ( = 3.85)

Abstract

The purposes of this research were  1) to design and develop supplementary  exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills for Prathomsuksa 3 students by the efficiency criteria of 80/80,  2) to compare learning achievement of Prathomsuksa 3 students before and after using supplementary  exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills,  and 3) to study students’ satisfaction towards learning by using supplementary  exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills for Prathomsuksa 3 students.

The samples were 13 Prathomsuksa 3 students of Ban Kokpo San-ium School under the Office of Loei Primary Educational Service Area 3, of the academic year 2010.

The instruments used in this research were 1) the nine sets of supplementary exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills constructed by the researcher,  2) the thirty items with three options of achievement test,  and 3) the ten satisfaction questionnaires after using exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills for Prathomsuksa 3 students.

The statistics used in this research were the E1 and E2 formula for finding the efficiency results on using exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills for Prathomsuksa 3 students, the t-test dependent samples for comparing the pretest and posttest mean scores, and the mean score and standard deviation for analyzing students’ satisfaction towards reading exercises. 

The results of this research indicated as follows:

1)  the supplementary exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills for Prathomsuksa 3 students constructed by the researcher had the efficiency criteria of 82.03/81.20 (E1=82.03/E2=81.20) that was higher than the standard 80/80 criteria.

2)  the students’ learning achievement after using the supplementary exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills for Prathomsuksa 3 students was higher than the before using them by statistically significant at the .05 level.

3)  the overall students satisfaction towards learning by using supplementary  exercises of final consonant sounds in Thai language on promoting reading and writing skills for Prathomsuksa 3 students was at the “high” level (= 4.16). The three highest mean scores ranked by questionnaire item were; learning activities helps students learn and participate activity through their own experience (= 4.54), there are various kinds of activities and exercises to encourage students to learn and practice (= 4.38), and learning activities are interesting (= 4.31). The item with lowest mean score was the reading and writing exercises are suitable for students level and there is the clear instructions and understandable (= 3.85).

Downloads

How to Cite

ศรีจำปา ท., & ศิริกัญจนาภรณ์ พ. (2017). การพัฒนาทักษะการอ่านการเขียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะเรื่องมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนโรงเรียนบ้านกกโพธิ์แสนเอี้ยม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 9(27), 64–74. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100828