การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน(เล่มเล็ก)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องประเพณี 12 เดือนของ ชาวอีสาน ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ้านกุดแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2

Authors

  • นันทนิจ มีศิลป์ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านกุดแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2
  • พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์ อาจารย์ ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

หนังสือส่งเสริมการอ่าน, หนังสือเล่มเล็ก, ประเพณี 12 เดือน, reading book, tiny book, 12 traditions month

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้  มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน (เล่มเล็ก)  ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  ศึกษาดัชนีประสิทธิผล  และศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่าน  กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่  นักเรียนโรงเรียนบ้านกุดแก  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5 อำเภอวังสะพุง   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย  เขต 2 ภาคเรียนที่ 1  ปีการศึกษา2554 จำนวน12  คน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง   

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่ 1) หนังสือส่งเสริมการอ่าน(เล่มเล็ก) กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย  ชั้นประถมศึกษาปีที่  5 ชุดประเพณี 12 เดือนของชาวอีสาน  จำนวน  12  เล่ม 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นแบบปรนัยเลือกตอบชนิด  4ตัวเลือก จำนวน  1 ฉบับ 3) แบบประเมินคุณภาพหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับผู้เชี่ยวชาญ  จำนวน  1  ฉบับ  และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือส่งเสริมการอ่าน  จำนวน  1  ฉบับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล  ได้แก่  ร้อยละค่าคะแนนเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  และ การทดสอบทีผลการวิจัยพบว่า

1. หนังสือส่งเสริมการอ่าน(หนังสือเล่มเล็ก)  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพของกระบวนการเท่ากับ 89.24  และประสิทธิภาพของผลลัพธ์  เท่ากับ  84.65   แสดงว่า  หนังสือส่งเสริมการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้

2. คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เรียนด้วยหนังสือส่งเสริมการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 

3. ค่าดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้  มีค่าเท่ากับ 0.67  แสดงว่าหนังสือส่งเสริมการอ่านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นทำให้ผู้เรียนเกิดทักษะกระบวนการเรียนรู้เพิ่มขึ้นร้อยละ  67              

4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนบ้านกุดแก  ที่มีต่อการเรียนโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่าน(หนังสือเล่มเล็ก)   กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5   ทั้ง  12 เล่ม  พบว่ามีคะแนนระดับ  ความคิดเห็นเฉลี่ย  4.36  อยู่ในระดับ  มาก  และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ  0.29  ซึ่งแสดงว่านักเรียนมีความคิดเห็นสอดคล้องกันค่อนข้างสูง

ผลจากการวิจัยครั้งนี้ทำให้ได้สร้างและพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ซึ่งทำให้นักเรียนเกิดทักษะการอ่าน มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ สอดคล้องกับความต้องการความสนใจของผู้เรียนตามสภาพชุมชนในท้องถิ่นนวัตกรรมดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นสื่อการเรียนการสอน ส่งเสริมทักษะการอ่านมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านสามารถนำทักษะการอ่านไปใช้เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ  ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Abstract

The purpose of this research were; to compose and to develop the reading book (tiny book) ; to study the achievement ; to study effective index  ; to study the satisfaction of students  who studied the reading book (tiny book)  and to use  the reading book as the material in the classroom activity  to encourage reading skill that established long life and good attitude  of reading.  The sample of this research was 12 students who were in the 5th grade in the 1st semester of academic year 2011 in Baan Gudgae  school in Loei  Primary Educational Service Area office  2.  The group of the sample was selected by purposive sampling.

The 4 instruments of the research were 1)  the reading book ( tiny book) of 12 traditions month of  northeast people such as  The first month : Boonkhaokarma Tradition,  The second month : Boonkoonlan Tradition,  The third month : Boonkhaoji Tradition,  The fourth month : Boonpawat Tradition, The fifth month : Boonsongkran Tradition,  The sixth month : Boonbungfai Tradition,  The seventh month : Boonsunha Tradition,  The eighth month : Boonkhaopansa Tradition,  The ninth month : Boonkhapradubdin Tradition,  The tenth month : Boonkhaosak,  The eleventh month : Boon-okpansa  and The twelfth month : Boonkathin,  2)  The multiple choice of achievement Test, 3) The quality evaluation for the specialist,  4) The satisfy questionnaire for students.   The data were analyzed in term of percentage, mean score, standard deviation, (S.D.) and t – test.   The research result appeared as follows;

1.  The reading book (tiny book) which the researcher composed had the effective of the procedure equals to 89.24 and the efficiency of the result equal to 84.65.  The reading book (tiny book) had the effective standard more than 80/80.

2. The achievement score which learned by the reading book (tiny book)    between posttest and pretest was significant difference at .05.

3. The effective index was 0.98. The reading book which the researcher developed encouraged students to improve their learning skills at 98 percentage increased.

4.  The result of the satisfaction of the students about the reading book found in a high level in total at 4.36 mean.  The standard deviation was 0.29 which shown that was the most in agreement.

According to the result of this research, the reading book had significant implication for development of reading skill, supported effective tradition, corresponded the requirement, the student followed community tradition.  All 12 series reading books could apply to be the instructional media, encouraged reading skill, supported good attitude for reading, led reading skill  to be in substance learning efficiently.

Downloads

How to Cite

มีศิลป์ น., & ศิริกัญจนาภรณ์ พ. (2017). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน(เล่มเล็ก)กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย เรื่องประเพณี 12 เดือนของ ชาวอีสาน ชั้นประถมศึกษาปี่ที่ 5 โรงเรียนบ้านกุดแก สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 9(27), 75–83. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100832