การพัฒนาทักษะการอ่านเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับฝึกได้ โดยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา โรงเรียนบ้านโนนปอแดง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย

Authors

  • โศรยา ธัญญประกอบ ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโนนปอแดง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย
  • พรสวรรค์ ศิริกัญจนาภรณ์ อาจารย์ ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

การพัฒนาทักษะการอ่านเขียน, วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา, นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา, the development of reading and writing skill, concentrated language encounters, mental deficiency students

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการสอนอ่านและเขียนโดยใช้กระบวนการสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยในการอ่านและเขียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาระดับฝึกได้  โดยใช้วิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา  กลุ่มเป้าหมาย  ได้แก่นักเรียนความบกพร่องทางสติปัญญาระดับฝึกได้  กลุ่มอายุ  8-9  ปี จำนวน  10  คน  โรงเรียนบ้านโนนปอแดง  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2 โดยเลือกแบบเจาะจง(Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย หนังสือส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่อง กากับหงส์ แผนการสอนเฉพาะบุคคล(Individualized  Implementation  Plan : IIP) โดยใช้วิธีการสอนภาษาไทยแบบมุ่งประสบการณ์ภาษา  แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านออกเสียงเสียงคำและเขียนคำ  จำนวน 4 ชุด ชุดละ 10 คำ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้คาร้อยละ(Percentage) ค่าเฉลี่ย(Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(Standard Deviation) และการทดสอบที(t-test for Dependent Sample)  ผลการวิจัยพบว่า

1.ประสิทธิภาพการสอนอ่านทำให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับฝึกได้ E1 / E2  = 79.00/78.00 และประสิทธิภาพการสอนเขียนทำให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับฝึกได้ E1 / E2  = 74.00/73.35

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนภาษาไทยในการอ่านและเขียน ก่อนและหลังเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับฝึกได้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

 

Abstract

The  purposes of this research was to the effective of reading and writing skill for Thai language teaching of through Concentrated  Language encounters of mental deficiency Students. The research compares the students’ competency in reading and Writing both  before and after using Concentrated  Language encounters. The sample consists of mental deficiency Students of population selected by using Purposive Sampling. The instruments used in the  research were (1) one course book for Thai  language teaching of through Concentrated  Language encounters of mental deficiency Students  (2) the teaching plans (Individualized  Implementation  Plan :  IIP)  (3) the competency test on reading and writing 40 items and The collected data were statistically analyzed using percentage, mean, standard deviation, and t-test(Dependent Sample)

The research found that the course book for Thai  language teaching of through  Concentrated  Language encounters of mental deficiency Students were effective. The Students study with through Concentrated  Language encounters have significantly got the mean scores after studying higher than before studying at the 0.01 level.

Downloads

How to Cite

ธัญญประกอบ โ., & ศิริกัญจนาภรณ์ พ. (2017). การพัฒนาทักษะการอ่านเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับฝึกได้ โดยวิธีสอนแบบมุ่งประสบการณ์ทางภาษา โรงเรียนบ้านโนนปอแดง อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 9(27), 84–90. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100836