โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน

Authors

  • ปนัดดา เนินนิล นิสิต ระดับปริญญาโท สาขาวิจัยทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • สนทรพจน์ ดำรงค์พานิช อาจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • พัชรี จันทร์เพ็ง อาจารย์ ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ความพึงพอใจในการทำงาน, โมเดลสมการโครงสร้าง, การวิเคราะห์พหุระดับ, job satisfaction, structural equation model, multi – level analysis

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน กลุ่มตัวอย่าง คือ ข้าราชการครู จำนวน 1,620 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi stage random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบวัดปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจ  ซึ่งประกอบด้วยปัจจัย ความพึงพอใจในการทำงาน, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, ความฉลาดทางอารมณ์,  ความผูกพันต่อองค์การ, การจัดการความรู้, ภาวะผู้นำ และวัฒนธรรมองค์การเชิงสร้างสรรค์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (r) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (CFA) การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับ(MCFA) การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้าง(SEM) และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ (MSEM) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพหุระดับของโมเดลการวัดความพึงพอใจในการทำงาน พบว่ามีความตรงเชิงโครงสร้างหรือมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดล ได้แก่ χ2 =  61.573, df = 50, χ2/df = 1.231, p-value = 0.126, CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA=0.012, SRMRB = 0.014,  SRMR= 0.031  2)  ผลการพัฒนาและตรวจสอบความตรงของโมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยค่าสถิติที่ใช้ตรวจสอบความตรงของโมเดลดังนี้ คือ มีค่า χ2= 1529.814, df = 829, p-value = 0.000, CFI = 0.979, TLI = 0.978,  RMSEA = 0.023, SRMRW = 0.025, SRMR= 0.450 และχ2/df = 1.845 ตัวแประระดับครูและระดับโรงเรียนร่วมกันอธิบายความแปรปรวนความพึงพอใจในการทำงานของครูในระดับบุคคลและระดับโรงเรียนได้ร้อยละ 66.80 และ 90.00 ตามลำดับ

 

Abstract

The purposes of this study  were to analyze multi-level confirmatory factor, causal factor influencing teacher’s job satisfaction and develop and test  validity of the multi-level structural  equation model  of  factors  influencing  teacher’s job satisfaction under the office of basic education in the upper north east. The research samples were 1,620 teacher. The research samples were obtained from Multi -Stage random samplings. The research instrument consisted of a Questionair of teacher’s job satisfaction, Achievement Motivation, Emotionaly Quotient, Organization Commitment, Knowledge Management, Leadership, Constructive and Creative Culture. The collected data  were  analyzed  using  descriptive  statistics,  multiple  correlation  for coefficient  analysis,  confirmatory  factor  analysis,  multi-level  confirmatory factor analysis, structural  equation  model  analysis,  and  multi-level  structural  equation  model analysis. The study  findings  could  be  summarized  as  follows : 1) The  result  of  analyzing confirmatory factors  of  teacher’s  job satisfaction  reviewed  that  there  was  construct  validly  or congruence  with  the  empirical  data.  This  could  be  considered  from  statistical  values  used  for  checking  and  the  model  validity  including : χ2= 61.573, df = 50, χ2/  df  = 1.231,  p-value = 0.126, CFI = 0.999, TLI = 0.998, RMSEA = 0.012, SRMRB = 0.014, SRMR=  0.031. 2) For the  results  of  developing  and  checking  validity  of  the  model  of  multi-level  factor  structural  equation  and  influences  of  teacher’s  job satisfaction under the office of basic education in the upper north east,  it  was  found  that  the  model  was  in  congruence  with  empirical  data.  This  could  be  considered  from  statistical  values  used  for  checking  and  the  model  validity  including : χ2= 1529.814 df = 829, p-value = 0.000, CFI = 0.979, TLI = 0.978, RMSEA = 0.023, SRMR= 0.025, SRMR= 0.450 and χ2/df = 1.845.  All  of  the  predictive  variables  at  the  teacher  level and  school  level could  cooperatively  predict  teacher’s  job satisfaction  of  the  teacher  at  66.80 and 90.00  percent respectively.

Downloads

How to Cite

เนินนิล ป., ดำรงค์พานิช ส., & จันทร์เพ็ง พ. (2017). โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงานของครู สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 8(26), 1–12. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100871