การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 19 (จังหวัดเลย)

Authors

  • ชลธวัฒน์ มีดี นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ภัทราพร เกษสังข์ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พงษ์ศักดิ์ ศรีจันทร์ อาจารย์ ประจำคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี

Keywords:

โมเดลเชิงสาเหตุ, การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน, โมเดลสมการโครงสร้าง, causal model, ordinary national educational test, structural equation modeling

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 (จังหวัดเลย) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 440 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional stratified random sampling) ตามขนาดของโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบทดสอบ แบบเลือกตอบ 5 ตัวเลือก ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 11.5 for Windows เพื่อวิเคราะห์ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และใช้โปรแกรม LISREL 8.30 for Windows ในการตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ด้วยเทคนิคทางสถิติที่ชื่อว่า โมเดลสมการโครงสร้าง (Structural Equation Modeling : SEM) ผลการวิจัยพบว่า

1. โมเดลเชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าดัชนีที่ใช้วัดความสอดคล้อง ดังนี้ χ2=28.878 df=27 p=.367 χ2/df =1.07 RMR=.751 SRMR=.020 RMSEA =.013 NFI=.993 NNFI=.998 CFI=.999 GFI=.990 AGFI=.966 และเมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2) พบว่า ตัวแปรในโมเดลสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของโมเดลได้ร้อยละ 47.70

2. เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน พบว่า 1) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงมากที่สุด คือ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านที่ไม่ใช่สติปัญญา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ .533 รองลงมาคือ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านสติปัญญา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ .198 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อม มากที่สุด คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในครอบครัว โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ .326 รองลงมา คือ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านที่ไม่ใช่สติปัญญา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ .224 3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมมากที่สุด คือ ปัจจัยส่วนบุคคลด้านที่ไม่ใช่สติปัญญา โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ .757 รองลงมา คือ ปัจจัยสิ่งแวดล้อมในชั้นเรียน โดยมีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลมาตรฐาน เท่ากับ .422

 

Abstract

The objective of this research was to develop causal model of the science Ordinary National Educational Test (O-NET) score grade 9 in school under the secondary educational service area office 19 (Loei province) Thailand. The sample were 440 grade 10 students in academic year of 2011, derived by the proportional stratified random sampling. The instrument of this research were five point rating scale questionnaires and multiple choice test (5-choice). The data were analyzed by the SPSS version 11.5 for Windows for the frequency, percentage, mean, standard deviation, kurtosis, skewness and Peason’s Product Moment Correlations Coefficient, together with the LISREL version 8.30 for Windows to examine the consistency between hypothesis model and empirical data by the Structural Equation Modeling (SEM) statistical technique.

The result revealed as follows :

1. The causal model fitted the empirical data (χ2=28.878 df=27 p=.367 χ2/df =1.07 RMR=.751 SRMR=.020 RMSEA =.013 NFI=.993 NNFI=.998 CFI=.999 GFI=.990 AGFI=.966). The model accounted for 47.70 % of variance in the science Ordinary National Educational Test (O-NET).

2. The factors affecting the science Ordinary National Educational Test (O-NET) were 1) The direct effect included the non personal cognitive factors with the coefficient effect value equaled .533. The second was the personal cognitive factors with the coefficient effect value equaled .198. 2) The indirect effect included the environmental factors in the family with the coefficient effect value equaled .326. The second was the non personal cognitive factors with the coefficient effect value equaled .224. 3) The total effect included the non personal cognitive factors with the coefficient effect value equaled .757. The second was the environmental factors in the classroom with the coefficient effect value equaled .422.

Downloads

How to Cite

มีดี ช., เกษสังข์ ภ., & ศรีจันทร์ พ. (2017). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 19 (จังหวัดเลย). Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 8(26), 93–105. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/100891