การพัฒนาค่ายเยาวชนเพื่อส่งเสริมอาชีพศิลปกรรมในท้องถิ่น

Authors

  • เชิดเกียรติ กุลบุตร อาจารย์ ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ค่ายเยาวชน, การส่งเสริมอาชีพศิลปกรรมในท้องถิ่น, a youth camp, local arts occupation

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาค่ายเยาวชนเพื่อส่งเสริมอาชีพศิลปกรรมในท้องถิ่น วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพการนำศิลปกรรมไปใช้ในการสร้างงานและอาชีพ มาจัดค่ายให้กับเยาวชน ในชุมชน และเพื่อพัฒนากระบวนการสร้างค่ายเยาวชน ใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิจัยเชิงสำรวจ การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

ผลการวิจัยพบว่า สภาพการนำศิลปกรรมไปใช้ในการสร้างงานสร้างอาชีพพบว่าผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่ายในเขตอำเภอภูเรือนั้น ส่วนใหญ่ เป็นประเภทของกิน และประเภทของที่ระลึก ทักษะการผลิตไม่ซับซ้อน ด้านพฤติกรรมการค้าขาย มีสภาพแวดล้อมและการประยุกต์ปรับปรุงพัฒนาค่อนข้างคงตัวอยู่กับที่ เน้นการขายทำกำไรเพื่อความอยู่รอดเป็นหลัก แนวคิดในการผลิต พบว่า ความจำเป็นในการดำรงชีพ ยังเป็นมูลเหตุสำคัญสภาพกระบวนการสร้างสรรค์และการสืบทอด สวนทางกับความคิดเห็นของคนรุ่นใหม่ ที่ถูกแนวคิดแบบทุนนิยมเข้าครอบงำจนละทิ้งการผลิตที่สืบทอดหรือคงรูปแบบเดิมเอาไว้ แต่ก็มีผลิตภัณฑ์บางอย่างได้แนวความคิดสร้างสรรค์ใหม่ ๆเกิดขึ้น

ส่วนสภาพแนวคิดที่ก่อให้เกิดเจตคติที่ดีในการดำเนินชีวิต พบว่า งานศิลปกรรมเป็นได้ทั้งงาน อดิเรก งานอาชีพเสริม และแม้กระทั่งอาชีพหลักในบางชุมชน และเป็นเรื่องของผลิตภัณฑ์ที่มุ่งเรื่องประโยชน์ใช้สอย แต่มีคุณค่าทางสุนทรียภาพในตัว เป็นผลิตภัณฑ์ที่ให้จินตภาพ และใช้วัสดุในท้องถิ่น เน้นตามความต้องการของตลาด จึงค่อนข้างจะด้อยคุณค่าทางความงามและลักษณะเฉพาะถิ่นไปอย่างมาก เกิดการปะปนกันจนแยกไม่ออกว่าเป็นงานศิลปกรรมของท้องถิ่นใด กระบวนการทำงาน สามารถทำได้ด้วยคนเพียงคนเดียว การพัฒนากระบวนการสร้างค่ายเยาวชน โดยใช้ศิลปกรรมท้องถิ่นเป็นสื่อแสดงออก โดยนำหลักการและรูปแบบของงานศิลปกรรม มากำหนดเป็นค่ายพักแรมและกิจกรรมนันทนาการ พบว่านักเรียนมีความตั้งใจรับการอบรมจากวิทยากรเป็นอย่างดี ได้ลงมือปฏิบัติเอง จนถึงขั้นตอนสำเร็จ

 จากแบบสอบถามพบว่า เยาวชนได้รับการพัฒนาการจัดค่าย โดยใช้ศิลปกรรมท้องถิ่น ได้รับความรู้ จากวิทยากรเพื่อเป็นแนวทางสร้างสรรค์งานมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย4.57 แนวคิดที่ก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีในการดำเนินชีวิตด้านศิลปกรรมท้องถิ่น พบว่า เยาวชนเห็นว่างานศิลปกรรมท้องถิ่นสามารถสร้างอาชีพและรายได้มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.63 และสุดท้าย การสะท้อนเอกลักษณ์และอัตตลักษณ์ ของชุมชน พบว่าศิลปกรรมท้องถิ่นของแต่ละชุมชนคือเอกลักษณ์ของชุมชนนั้น ๆ และเยาวชนสามารถสร้างสรรค์งานที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่นของตนเองได้มากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.37

 

Abstract

This research aimed to study the states in taking arts for applying a new work and an occupation to arrange a camp for youths in community and 2)to develop a procedure of setting up youth’s camp This research methodology were involved in mixed methods research The results of this research were as follows: The most of products in Phu Ruea district were food and souvenir. These products were not complicate and varieties. For selling aspect, it found that stable and no improvement and adaption for environment. Merchants focus on profit, no one giving them any advices and no cooperation between people. For producing all those products that found out in local community earn more income which made them spend more money and buy some stuffs that made their family be happy and more convenient. State of inheritance for creation showed the young generation was dominated by capitalism and lack of inheriting. Therefore, the new generation have been innovated a new product.

This research found arts and crafts could be people’s job, hobbies and a part time job also; moreover, some community these are their main work. all products design were contemporary and cost different price. moreover, no unique and local identity and it could not identify which one is a local art. Because of its processing is one man show and less investing if people want to be his job that will be secured job like others career. The operating youths camp development which taking a principle and form of work of arts to guide this recreation camp, it showed that students paid attention from a guest speaker. Then students handed on their project until them complete their work. There were some obstacles for students who do not have a skill but they were high diligence. These students got some encouragement and gain experience in creating work of arts. Three groups had an interaction to each other, be able to work and help each other. Students who had good skill will help their friends by suggesting, cheering and being a good role model. From questionnaires showed that all youths in this camp received an improvement by using local arts as a medium by speakers gave a guideline for their creation were high which a mean was 4.57. The concept which increasing a good attitude in aspect of local arts for living, it showed that youths agreed with work of arts can be their new work and got high income which a mean was 4.63. The reflection of characteristic and identity in community found that each community had its own local arts and youths were able to create their own characteristic were highest which a mean was 4.37

Downloads