การสร้างเสริมพฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Authors

  • พรสวรรค์ สุวัณณศรีย์ อาจารย์ ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

การอ่าน, พฤติกรรมการอ่าน, การสร้างเสริมพฤติกรรมการอ่าน, reading, reading behavior, reading promoting behavior

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย 2) เพื่อสร้างเสริมพฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการ   กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง  คือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทยชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ปีการศึกษา 2553 การตรวจสอบข้อมูลใช้วิธีการแบบสามเส้า  วิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอเชิงพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า

1. พฤติกรรมการอ่าน การอ่านของนักศึกษาโดยส่วนใหญ่ ชอบอ่านนิยายรักโรแมนติก  นิตยสารแฟชั่นดารา คอลัมน์เคล็ดลับความงาม ดูดวงเกี่ยวกับเนื้อคู่ ขายหัวเราะ ถ้าเป็นหนังสือพิมพ์  คอลัมน์ที่อ่านเป็นอันดับแรกคือคอลัมน์เกี่ยวกับดวงประจำวันเกิด ข่าวดาราบันเทิง ละคร ส่วนข่าวเกี่ยวกับเหตุการณ์บ้านเมืองจะอ่านเป็นอันดับสุดท้าย

2. สาเหตุที่ทำให้นักศึกษาไม่รักการอ่าน ได้แก่ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ทำให้นักศึกษาส่วนใหญ่สนใจและใช้เวลาไปกับสื่อเทคโนโลยีและทำกิจกรรมอย่างอื่นมากกว่าการอ่าน ครู อาจารย์ ผู้ปกครอง สถาบันการศึกษาและองค์กรที่เกี่ยวข้อง ไม่มีการปลูกฝังให้นักศึกษารักการอ่านอย่างจริงจังและต่อเนื่อง นักศึกษาในปัจจุบันสมาธิสั้น เบื่อเร็ว ขาดความอดทนต่อการใช้เวลาอ่านนักศึกษามีความรู้พื้นฐานในการอ่านน้อย ขาดแรงจูงใจ หนังสือไม่ดึงดูดใจ ไม่มีคุณภาพ ขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง บรรยากาศไม่ส่งเสริมการอ่าน แหล่งเรียนรู้ไม่หลากหลายไม่น่าสนใจ และสาเหตุสุดท้ายคือนักศึกษาชอบทำอะไรตามความพอใจของตนเอง ไม่คำนึงถึงประโยชน์ที่ได้รับและภัยที่จะตามมา ไม่เห็นประโยชน์ที่ได้จากการอ่าน

3. วิธีการสร้างเสริมพฤติกรรมการอ่าน ได้แก่ การเปลี่ยนทัศนคติหรือมุมมองต่อการอ่าน จัดให้มีการแข่งขันหรือประกวดแชมป์รักการอ่าน จัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านตามความสนใจ จัดมุมรักการอ่าน จัดตั้งชมรมหนอนหนังสือ จัดทำห้องสมุดมีชีวิต จัดบรรยากาศหรือสภาพแวดล้อมในห้องสมุดให้มีหลายมิติ ให้มีความน่าสนใจ รณรงค์และส่งเสริมให้แนวทางในการอ่านอย่างง่าย ๆ ประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างค่านิยม สร้างกระแสด้านการอ่าน จัดกิจกรรมค่ายส่งเสริมการอ่าน  จัดกิจกรรมบันทึกการอ่าน สร้างเครือข่ายรักการอ่าน จัดทำ Web site ชมรมนักอ่าน และครู อาจารย์ร่วมกับครอบครัวปลูกฝังสร้างแรงจูงใจให้รักการอ่าน

4. ผลการสร้างเสริมพฤติกรรมการอ่านของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย จากวงจรที่ 1 พบว่า นักศึกษาอ่านจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์/อินเตอร์เน็ตมากที่สุด รองลงมาคือ อ่านบทความ/เอกสาร/ตำราทางวิชาการ ส่วนสื่อที่นักศึกษาอ่านน้อยที่สุด คือ หนังสือนิทาน สำหรับเนื้อหาที่ได้จากการอ่าน พบว่า เนื้อหาที่ได้จากการอ่านของนักศึกษามากที่สุด คือ เนื้อหาเพื่อความรู้ความเข้าใจ รองลงมาคือ เนื้อเกี่ยวกับการนำข้อคิดไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ส่วนเนื้อหาที่ได้จากการอ่านน้อยที่สุดคือ เนื้อหาเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าและการทำรายงาน

 

Abstract

The purposes of this research were 1) to study the reading behavior of the first year Thai Major students of Loei Rajabhat University, and 2) to promote the reading behavior of the first year Thai major students with the method of action research and the target group was purposive sampling consisted of the first year Thai major students of Loei Rajabhat University in 2010. The data was verified with the triangulation, analyzed by content analysis, and presented in descriptive analysis style.  The findings were as followings.

1. The reading behavior of the students indicated that, mostly, the students read romantic novel,superstar-fashioned magazine, beauty tips column, horoscope concerning love, Khai-Hua-Roh (laugh sales), and for the newspaper, the columns that the students were likely to read firstly were birth-date horoscope, star entertainment news, soap opera news, and the news that the students were likely to read were the political and current event news.

2. The reasons, why the students do not like to read, included the advancement of the technology causing the students preferred paying more attention and spending more time with the technology to reading. Moreover, teachers, instructors, parents, educational institutes, and other related organizations have not seriously and continuously promoted reading behavior for the student. Currently, the students have short-term memory, get bored very fast, and are impatient to spend time reading. Additionally, the students are lacking of basic reading skills and motivation, and the books are not interesting. The books are not qualified, and public relations are not performed continuously. The environment is not fit for reading. The learning sources are not various and not interesting. And the last reason was that the students would do anything that is tempting to do, they did not concern about its usefulness and either its danger. They did not recognize the contribution of reading.

3. The method of promotion (enhancement) the reading behavior includes the change of the attitude or thepoint of view towards the reading, the holding of the reading competition and reading champion, the promotion of reading activity according to readers’ interest, the setting of reading corner, the establishment of book-worm club, the setting of living library, the setting of the multi-dimension atmosphere and environment library to be interesting, the campaign and the promotion as the guideline for easy reading, public relation for the creation of values, popularization in reading, reading promotion camp, the record of reading activities, the building of reading network, the creation of reading club website, and the teachers and the instructors together with the parents help to motivate and build the reading habit.

4. The result of the reading behavior promotion of the first year Thai major students of Loei Rajabhat students in the first circle indicated that the students read the electronic/internet media the most, the latter was article/document/academic text and tales was the least to be read by students. For the content of reading, it was found that the knowledge and understanding was the content that the students acquired the most, the latter was the content on the application of ideas in their daily lives, and the content that the students acquired the least was the content to use in the study and report.

Downloads