พฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
พฤติกรรม, สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช, เกษตรกร, behavior, pesticide, tomato growersAbstract
บทคัดย่อ
เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งหากเกษตรกรมีพฤติกรรมในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชไม่ถูกต้องจะส่งผลเสียต่อตัวเกษตรกร ผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อมได้ วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เพาะปลูกมะเขือเทศ บ้านลาดนาเพียง ตำบลสาวะถี อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางในเกษตรกรที่ปลูกมะเขือเทศ จำนวน 166 คน โดยสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย ใช้แบบสัมภาษณ์ในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าต่ำสุดและสูงสุด หาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยนำ ปัจจัยเอื้อ ปัจจัยเสริม กับการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยใช้สถิติ Chi-square test หากไม่ผ่านข้อตกลงตามเงื่อนไขของการทดสอบ Chi-square จึงเลือกใช้ Fisher’s exact test โดยกำหนดระดับนัยสำคัญที่ระดับ 0.05
ผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มีความรู้ ทัศนคติและการการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง ร้อยละ 48.8 59.6 และ 57.8 ตามลำดับ โดยปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกร ได้แก่ ความรู้ กรรมสิทธิ์ที่ดิน และแหล่งรับซื้อผลผลิต (p-value < 0.001) ส่วนคำแนะนำจากบริษัทรับซื้อผลผลิต (p-value = 0.009)
จากผลการศึกษาพบว่าเกษตรกรมีความรู้ ทัศนคติและการปฏิบัติตนในการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชอยู่ในระดับปานกลาง ดังนั้นการส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่จะนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องในระยะยาว
Abstract
At present, a lot of farmers had been used pesticides. If they use incorrectly, it will affect themselves, consumers and the environment. This study aimed to study the behavior of pesticide use among tomato farmers at Ban Ladnapeang, Sawatee Sub-District, Muang District, in Khon Kaen Province of Thailand. This cross-sectional descriptive study was conducted with 166 active tomato farmers, which were selected by simple random sampling. Interviews questionnaires were used to collect data. Descriptive statistics for data analysis include percentage, mean and standard deviation, minimum and maximum. The Chi-Square Test was used to identify correlations.
Most of the sample had knowledge, attitudes and pesticide practices at the moderate level of 48.8%, 59.6% and 57.8% respectively. The related factors, in pesticide practice among tomato farmers, were knowledge, land ownership and contracting with company (p-value < 0.001) and advice from a contract farming company (p-value = 0.009).
The result found that the sample had knowledge, attitudes and pesticide practices at the moderate level. They should be provided with pesticide knowledge promotion to solve their problem for a long-term solution.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้