ทักษะภาวะผู้นำในการปรับปรุงสถานศึกษาของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร

Authors

  • งามพิศ ลวากร รองผู้อำนวยการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

Keywords:

ทักษะภาวะผู้นำ การปรับปรุงสถานศึกษา, ผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา, leadership skills, school improvement, secondary school administrator

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาทักษะภาวะผู้นำในการปรับปรุงสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร  ประชากร  ได้แก่  ผู้อำนวยการโรงเรียน  รองผู้อำนวยการโรงเรียนและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้จากโรงเรียน 117 แห่ง จำนวน 1,521 คน  แล้วเลือกตัวอย่างโดยวิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน  ขั้นแรกเลือกโรงเรียนที่นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงได้โรงเรียน 42 แห่ง  ขั้นที่สองคัดเลือกโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบง่าย 30 %ของตัวอย่างในขั้นแรก จำนวน 182 คน  จากโรงเรียน 14 แห่ง  ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยแบบสอบถามเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป หาค่า   ร้อยละ  ค่าเฉลี่ย   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าเปรียบเทียบเอฟ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และค่าการถดถอยพหุคูณ เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานทักษะภาวะผู้นำของผู้บริหารโรงเรียน

ผลการวิจัยพบว่า  ระดับปฏิบัติทักษะภาวะผู้นำในการปรับปรุงสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร โดยภาพรวม ทั้ง 5 ด้าน  อยู่ในระดับมาก  เมื่อพิจารณารายด้าน  พบว่า  อยู่ในระดับมากทุกด้าน  โดยเรียงจากมากไปหาน้อย ดังนี้  (1) ด้านการคิดเชิงระบบ  (2) ด้านการใช้ข้อมูลเพื่อกำหนดและวางแผนในการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรการเรียนการสอน  (3) ด้านการติดตามและประเมินผลแผนการปรับปรุงสถานศึกษา (แผนกลยุทธ์)  (4) ด้านการแก้ปัญหาร่วมกันและสื่อสารอย่างเปิดเผยและ (5) ด้านการรวบรวม การวิเคราะห์และการใช้ข้อมูล  การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ  เพื่อหาค่าสัมประสิทธิ์มาตรฐานยืนยันได้ว่า  ทักษะภาวะผู้นำทั้ง 5 ด้านมีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01

 

Abstract

The research purpose was to study leadership skills in school improvement of government secondary school administrators in Bangkok Metropolis. Population used in the research consisted of administrators, assistant administrators and head teachers of subject areas with a number of total 1,521 from 117 schools. Then multistage was used to select a sample, first 42 high student achievement were selected, after that 30% of schools in the first step was randomly selected with a number of 14 schools and 182 respondents. Instruments used was the questionnaire was concerned 5 areas of leadership skills of administrators with the reliability at 0.98. Percent, Mean, standard deviation, F-test, correlation, and multiple regression were utilized for this research.

Research Results were shown as follows : All 5 areas of leadership skills were practiced at the higher levels ordering from higher to lower as follows: (1) System thinking, (2) Utilization of information to specify and plan change (strategic plan) for curriculum construction and instruction, (3) Implementation and monitoring school improvement plan (SIP), (4) The promotion of participatory problem - solving and open communication, and  (5) Data collection, data analysis and application in identifying school needs of improvement. Standardized beta coefficients from multiple regression analysis confirmed relationship within and among the 5 areas of leadership skills was statistically significant at .01 level.

Downloads

How to Cite

ลวากร ง. (2017). ทักษะภาวะผู้นำในการปรับปรุงสถานศึกษาของผู้บริหาร โรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐในกรุงเทพมหานคร. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 8(24), 24–33. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/101164