รูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผล ของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

Authors

  • สุขุม พรมเมืองคุณ นักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

ประสิทธิผลมหาวิทยาลัยราชภัฏ, effectiveness Rajabhat university

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่  ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษาสายผู้สอนลพนักงานมหาวิทยาลัยสายผู้สอนในปีการศึกษา  2554  จำนวน 660  คน  ซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage random sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบบสอบถามทุกตอนหาค่าความเชื่อมั่นโดยการหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (a-coefficient)  ตามวิธีของครอนบาคแยกเป็น ประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า .9561  ภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า .9751  วัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์  ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า .9656  และองค์การแห่งการเรียนรู้ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า .9781  การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  ค่าความเบ้  ความโด่ง  และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และใช้โปรแกรม LISREL 8.52  วิเคราะห์เพื่อตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและตรวจสอบความสอดคล้อง  กลมกลืนของรูปแบบสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์   ผลการวิจัย พบว่า

1. ผลการตรวจสอบรูปแบบความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นของปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากค่าสถิติดังนี้ c2 = 95.16, df = 77, p-values = .08, RMSEA = 0.02, CN = 704.28, GFI = 0.98 และ AGFI = 0.96 แสดงว่ารูปแบบที่พัฒนาขึ้นในเชิงทฤษฎีมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์

2. ผลการศึกษาอิทธิพลทางตรง  อิทธิพลทางอ้อม และอิทธิพลรวม ต่อประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พบว่า ปัจจัยที่นำมาศึกษามีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลสอดคล้องกับสมมติฐานที่กำหนดไว้มีรายละเอียดดังนี้  

2.1 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรง มี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.90 และ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.17 ตามลำดับ 

2.2  ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมมี 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.91 รองลงมา คือ ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.42

2.3  ปัจจัยที่มีอิทธิพลรวม มี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยองค์การแห่งการเรียนรู้ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.90 รองลงมาคือ ปัจจัยภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.79 และปัจจัยวัฒนธรรมองค์การแบบสร้างสรรค์ มีค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.59 ตามลำดับ

เมื่อพิจารณาค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ (R2)  พบว่า ตัวแปรที่นำมาศึกษาในรูปแบบสามารถอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของมหาวิทยาลัยราชภัฏในภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้ร้อยละ 89


Abstract

The purposes of this study was to develop the structural equation model of factors affecting the effectiveness of Rajabhat Universities in northeastern. The sample were 660 lecturer from Rajabhat Universities in northeastern in 2011 academic year. The research  instruments for data collection was 5-point rating scale questionnaire with its reliability of  universities effectiveness .9561 transformational leadership .9751 constructive organizational culture .9656 and learning organization .9781.  SPSS for Windows version 16 was employed for descriptive statistics frequency, percent, mean (  ), standard deviations (S.D.)  skewness, kurtosis, and  Pearson’s Product Moment coefficients with The LISREL program version 8.52 was also employed to investigate the construct validity and the test consistency of the hypothesis model with empirical data.

The  findings of this study were  summarized as follows :

1. The structural equation model of factors affecting effectiveness of Rajabhat Universities in northeastern which developed was consistency with the empirical data which the final model with chi-square value = 95.16, df = 77, p-values = .08,  RMSEA = 0.02, CN = 704.28, GFI = 0.98 and AGFI = 0.96.

2.  According to the affecting coefficient of the factors affecting of Rajabhat Universities in northeastern  found that :

2.1 Direct effect consisted of 2 factors with the influence coefficient of learning organization = 0.90, and constructive organizational culture = 0.17 Respectively.

2.2 Indirect effect consisted of 2 factors with the influence coefficient of  transformational leadership = 0.91, and constructive organizational culture = 0.42 Respectively.

2.3 The total effect consisted of 3 factors with the influence coefficient of learning organization = 0.90, transformational  leadership = 0.79 , and constructive organizational culture = 0.59 Respectively.

Based on the prediction coefficient (R2) of the structural equation model of factors affecting effectiveness of Rajabhat Universities in northeastern, the studied variables could describe the variance with the Rajabhat Universities’ effectiveness at  89  Percent.

Downloads