ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วนลดพุงในวัยแรงงาน ตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย

Authors

  • ชาณุวัต อาจแก้ว นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสร้างเสริมสุขภาพ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • สุพรรณี ศรีปัญญากร อาจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • จิตรศิริ ขันเงิน หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลเลย จังหวัดเลย

Keywords:

โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรม, ลดอ้วนลดพุงวัยแรงงาน, the behavioral change program, obesity control, working people

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วนลดพุงในวัยแรงงานโดยเปรียบเทียบความรู้  ทัศนคติ การปฏิบัติตัวการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด ก่อนและหลังการทดลองในกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม  และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 2) เพื่อศึกษาผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วนลดพุงในวัยแรงงานโดยเปรียบเทียบดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว และอัตราส่วนเส้นรอบวงเอวต่อเส้นรอบวงสะโพก  ก่อนและหลังการทดลอง ในกลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม และระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม 

กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยประชากร อายุ 35-55 ปี จำนวน 120 คน กลุ่มทดลอง 60 คน กลุ่มควบคุม 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วนลดพุง แบบสอบถาม แบบบันทึกติดตาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปคำนวณหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า

1. ผลการเปรียบเทียบคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียด ก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีความรู้ ทัศนคติ การปฏิบัติตัวด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดดีกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

2. ผลการเปรียบเทียบดัชนีมวลกาย เส้นรอบวงเอว และอัตราส่วนเส้นรอบวงเอวต่อเส้นรอบสะโพกก่อนและหลังการทดลอง พบว่าหลังการทดลองกลุ่มทดลองมีดัชนีมวลกาย  เส้นรอบวงเอว  อัตราส่วนเส้นรอบวงเอวต่อเส้นรอบวงสะโพกลดลงมากกว่าก่อนการทดลองและลดลงมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

ข้อเสนอแนะควรมีการพัฒนาสื่อต่างๆที่เข้าถึงประชาชนให้มากยิ่งขึ้น  และระบบการติดตามประเมินผลควรเป็นระบบเครือข่ายที่มีการประสานงานที่ดีกับสถานบริการสาธารณสุข

 

Abstract

The purposes of this research were  1) to investigate the effect of the behavioral change program on obesity control among working people by comparing knowledges of attitude, practices of eating habits, exercise, and stress control before and after the study in the experimental and the control groups, and between those two groups and 2) to investigate the effect of behavioral change program on obesity control among working people by comparing body mass index, waist circumference, and waist to hip ratio before and after the study in the two groups and between those two.

Subjects were 120 people aged between 35-55 years old and dwelled in Ban Pheom sub-district and Non Pa Sang sub-district, PhaKhaow district. They were divided into two groups of 60 each. Research tools were behavioral change program on obesity control, questionnaires, and follow up record forms. Percentage, mean, standard deviation and  t-test were used for statistical analysis.

The results were as follows:

 1. The comparison of knowledge, attitude, practices of eating habits, exercise, and stress control showed that subjects who used the behavioral change program on obesity control had better scores of those after taking part of the study compared to the prior study. After the study, those scores in the experimental group were also better than that in the control group at the significant level of 0.05.

2. The comparison of body mass index, waist circumference, and waist to hip ratio before and after the study showed the body mass index, waist circumference, and waist to hip ratio of the subjects after taking part of the study in the experimental group were significantly decreased compared to the prior the study and the control group at the significant level of 0.05.

Downloads

How to Cite

อาจแก้ว ช., ศรีปัญญากร ส., & ขันเงิน จ. (2017). ผลการใช้โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดอ้วนลดพุงในวัยแรงงาน ตำบลบ้านเพิ่ม อำเภอผาขาว จังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 8(23), 25–36. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/101209