แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาหมู่บ้านโนนฟากเลย

Authors

  • ภัทราพร เกษสังข์ อาจารย์ ประจำคณะครุศาตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อรวรรณ เกษสังข์ นักวิจัยอิสระ
  • อรุณรัตน์ จันทิหล้า ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนบ้านโนนฟากเลย จังหวัดเลย

Keywords:

คุณภาพชีวิต, แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิต, ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, quality of life, guideline of improving in quality of life, the philosophy of sufficiency economy

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง กรณีศึกษาหมู่บ้านโนนฟากเลย กระบวนการแบบมีส่วนร่วม มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของชุมชน 2) ศึกษาความคาดหวังและแนวทางการขับเคลื่อนพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชน ของชุมชนหมู่บ้านบ้านโนนฟากเลย ขั้นตอนของการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 ขั้นเตรียม ระยะที่ 2 ขั้นดำเนินการ การวิเคราะห์ข้อมูล แบ่งออกเป็น การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านโนนฟากเลย ชุมชนมองคุณภาพชีวิตจากด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนของครอบครัวตั้งแต่ 5,001 – 8,000 บาท อาชีพหลักของครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม รองลงมารับจ้าง ชุมชนที่เป็นกลุ่มตัวอย่างครอบครัวมีการวางแผนการใช้จ่ายเงิน มีการทำบันทึกการใช้จ่ายภายในครอบครัว แต่ครอบครัวส่วนใหญ่ไม่มีการออม สมาชิกในครอบครัวมีโรคประจำตัว และสมาชิกในครอบครัวส่วนใหญ่มีการทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกัน

2. ความคาดหวังการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชนบ้านโนนฟากเลย โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า ชุมชนมีความคาดหวังเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต ตามลำดับ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสุขภาพ ด้านเศรษฐกิจ แนวทางการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน โดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 1)โครงการคืนสิ่งแวดล้อมและอากาศให้กับชุมชน 2)โครงการจัดกิจกรรมเสริมสุขภาพ ร่างกายแข็งแรงไร้พุง 3)โครงการพอเพียงเลิกค่านิยมซื้อสินค้าตามโฆษณา 4) โครงการการลดละการใช้จ่ายฟุ่มเฟือย 5) โครงการรักษ์น้ำ 6) โครงการศึกษาดูงานเศรษฐกิจพอเพียง 7) โครงการส่งเสริมความรู้สุขภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม 8) โครงการใช้พื้นที่ให้เกิดทรัพย์ 9) โครงการเพาะเห็ดเพื่อสุขภาพและรายได้ 10) โครงการพัฒนาอาชีพเพิ่มรายได้ และ 11) โครงการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของคนพิการ และผู้สูงอายุ

 

Abstract

This participative action research was designed to study the improving in quality of life based on the philosophy of sufficiency economy which its research purposes were : 1)  to investigate the state of the community’s quality of life, and 2) to find out the community’s expectation and ways of quality of life improvement based on the philosophy of sufficiency economy.  The research methodology comprised of two phases. Phase one was the preparation, phase two was the operation and analysis data as : The quantitative data analysis were percentage, mean and standard deviation while the qualitative data were analyzed by content analysis.

The research findings revealed as follows :

1.  For the state of Non-Fark Loei Village’s quality of life, the community’s points of view on environment, health and the economy.  The majority of the samples earn 5,001-8,000 Thai Baht per month.  The main occupations are agriculture and labor respectively.  Planning for money spending and expenses record were found but most families did not save money up.  Besides these findings, it revealed that family members are diseased but they participated in recreational activities.

2. The expectation of the improving in quality of life based on the theory of sufficiency economy found were the environment, health and the economy respectively.  The ways of quality of life improvement were the projects as follows : 1) the environment and air restoration to the community, 2) the activities for good health enhancement, 3) the sufficiency, 4) terminated the prodigality, 5) water conservation, 6) the field trip on sufficiency economy, 7) the instruction of health promotion, economy and environment, 8) the land utilization, 9) the mushroom farming, 10) the occupation development in order to gain the income, and 11) the disabled people and senior citizen’s quality of life enhancement.

Downloads

How to Cite

เกษสังข์ ภ., เกษสังข์ อ., & จันทิหล้า อ. (2017). แนวทางการพัฒนาคุณภาพชีวิตโดยยึดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาหมู่บ้านโนนฟากเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 8(23), 37–48. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/101215