การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เรื่องเศษส่วนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
Keywords:
การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์, กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์, a development of mathematics learning, activities base on constructivist theoryAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) หาดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ กับกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์กับกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ 5) ศึกษาความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 60 คน จากโรงเรียนบ้านวังม่วงจำนวน 31 คน โรงเรียนบ้านหนองไผ่ จำนวน 29 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ จำนวน 10 แผน และแผนการจัดการเรียนรู้แบบปกติ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเศษส่วน 3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ และ 4) แบบวัดความพึงพอใจในการเรียนรู้ของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ ค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติทีที่กลุ่มตัวอย่างสัมพันธ์กัน ผลการวิจัยปรากฏดังนี้
1. แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 74.30/73.01
2. ดัชนีประสิทธิผลกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ เท่ากับ 0.6028 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียน คิดเป็นร้อยละ 60.28
3. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์มีความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์สูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
5. นักเรียนที่เรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ มีความพึงพอใจในการเรียนรู้ โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก และกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกตินักเรียนมีความพึงพอใจในการเรียนรู้โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจปานกลาง
Abstract
The purposes of this research were 1) to develop the 70/70 criterion-standard mathematics learning activities base on constructivist theory, 2) to determine an effectiveness index of the learning activities base on constructivist theory, 3) to compare the learning achievement between students who learned using learning activities base on constructivist theory and students who learned using traditional activities, (4) to compare the mathematical reasoning abilities between students who learned using learning activities base on constructivist theory and students who learned using traditional activities, (5) to study the satisfaction of students who learned using learning activities base on constructivist theory and traditional activities. The sample groups consisted of 60 prathomsuksa 4 from 31 students Wungmuang school students and 29 Nongphai school students in the second semester of the academic year of 2011, obtained by using the purposive sampling technique. The instruments used in this study were 10 learning activity plans base on constructivist theory and 10 traditional activity plans; a learning achievement test of fraction ; a mathematical reasoning ability test ; and questionnaires on satisfaction with learning activities base on constructivist theory and traditional activities. The data was analyzed by using percentage, mean, standard deviation; and the independent t-test. The findings of the study were as follow:
1. The efficiency of learning activities base on constructivist theory was 74.30/73.01.
2. The effectiveness index of the learning activities base on constructivist theory was 0.6028, showing that students progressed their learning at 60.28 percent.
3. The students who learned using the learning activities base on constructivist theory indicated learning achievement more than students who learned using the traditional activities at the 0.05 level of significance.
4. The students who learned using the learning activities base on constructivist theory indicated mathematical reasoning ability more than students who learned using the traditional activities at the 0.05 level of significance.
5. The students showed satisfaction with learning activities base on constructivist theory at a very high level and traditional activities at a medium level.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้