ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน
Keywords:
ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้, สถานศึกษา, การศึกษาขั้นพื้นฐาน, knowledge management strategy, schools, basic education commissionAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาสภาพการจัดการความรู้และศึกษายุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคเหนือตอนบน โดยเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาสภาพการจัดการความรู้และยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ด้วยแบบสอบถามจากบุคลากรในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานใน 8 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ซึ่งเป็นบุคลากรในสถานศึกษาขนาดเล็ก จำนวน 636 คน ขนาดกลาง จำนวน 665 คน ขนาดใหญ่ จำนวน 180 คน วิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการจัดการความรู้กับยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ และวิเคราะห์หาความสัมพันธ์ระหว่างตัวชี้วัดกับยุทธศาสตร์การจัดการความรู้โดยการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณเพื่อให้ได้ตัวชี้วัดที่มีความสัมพันธ์กับยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ตามเกณฑ์ที่กำหนด และสัมภาษณ์ผู้บริหาร บุคลากรที่เป็นตัวแทนกลุ่มสาระการเรียนรู้ในสถานศึกษาที่มีผลการศึกษาสภาพการจัดการความรู้อยู่ในอันดับสูงสุดของแต่ละขนาดสถานศึกษา สังเคราะห์ผลการสัมภาษณ์ จัดทำร่างยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในสถานศึกษา ให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบยืนยันโดยการสนทนากลุ่ม
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือตอนบนอยู่ในระดับมาก โดยด้านการจัดความรู้ให้เป็นระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ ด้านการบ่งชี้ความรู้ ด้านการเข้าถึงความรู้ ด้านการเรียนรู้และด้านการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ ตามลำดับ และ ยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานภาคเหนือตอนบน มี 8 ยุทธศาสตร์ 43 ตัวชี้วัด ได้แก่ ยุทธศาสตร์ด้านการจัดการความรู้ทั่วทั้งองค์กร มี 5 ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ด้านผู้นำหรือผู้บริหาร มี 5 ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความรู้และนวัตกรรม มี 6 ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ด้านการถ่ายทอดความรู้และวิธีปฏิบัติที่ดี มี 6 ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารและเทคโนโลยี มี 5 ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ด้านคนทำงานด้วยความรู้ มี 6 ตัวชี้วัด ยุทธศาสตร์ด้านปัจเจกบุคคล มี 5 ตัวชี้วัด และยุทธศาสตร์ด้านการสร้างค่านิยมร่วม มี 5 ตัวชี้วัด
Abstract
The purposes of this research were to study the knowledge management and the knowledge management strategy of the schools under the Office of Basic Education Commission in the upper north region.This study collected the data over the knowledge management and the knowledge management strategies by using the questionnaires on the target groups who were the staff member of the schools in the upper north region. The target groups were divided into 3 groups : the small size group with 636 personnels, the medium size group with 665 personnels, and the large size group with 180 personnels.
This research was to analyze the relationship between the knowledge management processes and the knowledge management strategy and analyze the relationship between the indicators and the knowledge management strategy by multiple regression analysis to obtain indicators that are related to the strategic management of the knowledge-based criteria, together with interviewing the executives and the representative from each learning department of the schools with the results of the study of the knowledge management ranked the highest of each size of the school then synthesize the results of the interview mentioned. A draft of the strategy for knowledge management within the schools was carried out and verified by the expert group.
The study found that the knowledge management strategy of the schools in the upper north region has 8 strategies with 43 indicators, all of which are 5 indicators of the strategic management of the knowledge throughout the organization , 5 indicators of the leadership or management strategy, 6 indicators of the strategy to create the knowledge and the innovation , 6 indicators of the strategy of the knowledge transference and good practices, 5 indicators of the strategy of communication and technology, 6 indicators of the strategy of the knowledge workers , 5 indicators of the strategy of the individual consideration and 5 indicators of the strategy to create social value.
Downloads
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้