การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสื่อประสมที่มีผลป้อนกลับต่างกัน

Authors

  • พิชชานันท์ นิธิวิรุฬห์ นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • เพ็ญประภา เพชระบูรณิน อาจารย์ ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

บทเรียนสื่อประสม, ผลป้อนกลับ, บกพร่องทางการเรียนรู้, multimedia lesson, feedback, learning disabilities

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบทเรียนสื่อประสมที่มีผลป้อนกลับต่างกันในการพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้และศึกษาผลการใช้บทเรียนสื่อประสมที่มีผลป้อนกลับต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ระยะ ที่ 1 เป็นครูผู้สอนจำนวน 15 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน  584 คน จากโรงเรียนแกนนำเรียนร่วม เลือกมาโดยวิธีเจาะจง ระยะที่ 2 เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 24 คน ระยะที่ 3 เป็นนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ได้มาจากการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 66 คน รูปแบบการวิจัยที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ การวิจัยเชิงพัฒนา  แบ่งการวิจัยออกเป็น 3 ระยะ คือ 1) Product design & development 2) Product evaluation 3) Validation of tool or technique เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา คือ1) แบบสอบถามเพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการใช้สื่อการศึกษา 2) แบบคัดกรอง/คัดแยกนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน 3) บทเรียนสื่อประสมที่มีผลป้อนกลับต่างกัน 4) แบบประเมินบทเรียนสื่อประสม 5) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านภาษาไทย  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติคำนวณ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวน 1 ทาง (One-Way Anova) และสถิติวิเคราะห์คุณภาพของเครื่องมือ ผลการศึกษาพบว่า

1) ผลการประเมินประสิทธิภาพบทเรียนสื่อประสมที่มีผลป้อนกลับต่างกัน 3 รูปแบบ พบว่า รูปแบบที่ 1 ผลป้อนกลับแบบข้อความและเสียง เท่ากับ 82.17/100 รูปแบบที่ 2 ผลป้อนกลับแบบภาพและเสียง เท่ากับ 83.17/80 รูปแบบที่ 3 ผลป้อนกลับแบบข้อความ ภาพและเสียง  เท่ากับ 84.67/100  ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80

2) นักเรียนที่มีความพร่องทางการเรียนรู้ด้านการอ่าน เมื่อเรียนด้วยบทเรียนสื่อประสมที่มีผลป้อนกลับต่างกัน โดยผลป้อนกลับแบบที่ 1 คือ ข้อความและเสียง มีคะแนนทักษะการอ่านภาษาไทยต่างกับผลป้อนกลับแบบที่ 3 คือ ข้อความ ภาพและเสียง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผลป้อนกลับแบบที่ 1 คือ ข้อความและเสียง กับ ผลป้อนกลับแบบที่ 2 คือภาพและเสียง มีคะแนนทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการ

เรียนรู้ด้านการอ่านไม่แตกต่างกัน โดยผลป้อนกลับแบบที่ 3 คือ ข้อความ ภาพและเสียง มีคะแนนความสามารถทักษะการอ่านภาษาไทยสูงสุด

 

Abstract

The purposes of this research were: 1) to develop multimedia lesson by using different feedbacks for developing thai reading skill of dyslexic students 2) to study the effect of using different feedbacks in multimedia lesson. The samples of this study is devided into 3 phases as follows: the samples in first phase were fifteen teachers and  five hundred  and eighty-nine prathom 3 students by purposive sampling from the leader inclusive education school. The samples in second phase were twenty four dyslexic students from pratom 3 in the first semester of 2011 academic year by simple random sampling. The samples in final phase were sixty six dyslexic students from pratom 3 in the second semester of 2011 academic year by simple random sampling. The research design was developmental research (Richey and Klein, 2007) including 3 phases : 1) Product design & development 2) Product Evaluation 3) Validation of tool or technique. The instruments were used in this research were: 1) context survay 2) screening divice 3)  multimedia lesson that using different feedbacks 4) effective assesment of multimedia lesson and 5) the Thai reading skill test. The data were statistical analysis by Mean, Standard deviation, One-Way Analysis of Variance (One-Way Anova) and statistical analisys qualitative instruments.

The results of this research revealed that

1. The effect of multimedia lessson effeciency assessment using different feedbacks 3 formats were found that in the first format feedback (text and audio) equal to 82.17/100.  The second format feedback  (graphic and audio) equal to 83.17/100 The third format feedback (text, graphic and audio) equal to 84.67/100. The efficiency assessment  as requited for the criteria of 80/80

2. The dyslexic students using the multimedia lesson 3 different feedbacks were found that in the first format feedback  (text and audio) and the third format feedbacks (text, graphic and audio) were statistically significant difference scores of thai reading skill at .05 level. The first format feedback (text and audio) and the second format feedback (graphic and audio) were no significant difference scores of thai reading skill and the third format feedback (text, graphic and audio) have the highest scores in thai reading skill.

Downloads

How to Cite

นิธิวิรุฬห์ พ., & เพชระบูรณิน เ. (2017). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาไทยของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ โดยใช้บทเรียนสื่อประสมที่มีผลป้อนกลับต่างกัน. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 8(23), 101–109. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/101225