เปรียบเทียบการดำเนินงานตลาดสดน่าซื้อในตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์และตลาดสดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ : กรณีศึกษา ตลาดสดในพื้นที่จังหวัดเลย

Authors

  • เจนจีรา สีดาจิตร์ นักศึกษา หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • อุไรวรรณ อินทร์ม่วง อาจารย์ ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

ตลาดสดน่าซื้อ, ตลาดสดและมาตรฐานสาธารณสุข, ความรู้และทัศนคติของผู้ประกอบการ, healthy fresh market, fresh market and health standard, knowledge and attitude of vendor

Abstract

บทคัดย่อ

การศึกษาเชิงพรรณนา เพื่อเปรียบเทียบการดำเนินงานของตลาดสดที่ผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ในพื้นที่จังหวัดเลย ซึ่งตลาดที่ทำการศึกษาในครั้งนี้ ได้จากการคัดเลือกจากตลาดที่เข้าร่วมโครงการตลาดสดน่าซื้อและมีการดำเนินการพัฒนาตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อของกรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข โดยเก็บข้อมูลตามแบบสัมภาษณ์ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารในกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดทั้ง 2 แห่ง จำนวน 80 คน  สนทนากลุ่มในตัวแทนผู้ประกอบการ คณะกรรมการชมรมผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข จำนวน 24 คน และสัมภาษณ์เจาะลึกตัวแทนคณะผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 2 คน เก็บรวบรวมข้อมูล ระหว่างเดือนมกราคม 2555 ถึง เดือนมีนาคม 2555

ผลการศึกษา พบว่า ผู้ประกอบการในตลาดสดน่าซื้อระดับดีมาก ส่วนใหญ่ร้อยละ  52.50 มีความรู้ระดับปานกลาง รองลงมาร้อยละ 47.50 มีความรู้ระดับมาก มีทัศนคติต่อการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อในระดับดี ร้อยละ 92.50 ระดับความรู้ของผู้ประกอบการในตลาดสดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ พบว่า ผู้ประกอบการในตลาดส่วนใหญ่ร้อยละ  90.00 มีความรู้ระดับปานกลาง และร้อยละ 10 มีระดับความรู้น้อย มีระดับทัศนคติต่อการพัฒนาตลาดสดน่าซื้ออยู่ในระดับปานกลาง การปฏิบัติตามเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อของผู้ประกอบการในตลาดสดน่าซื้อระดับดีมาก มีการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาตลาดประเภทที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 ด้าน และด้านกายภาพมีการพัฒนาผ่านเกณฑ์ทั้งหมด 40 ข้อ ภาพรวมของตลาดสดที่ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตลาดสดน่าซื้อ มีการดำเนินกิจกรรมและการพัฒนาตลาดประเภทที่ 1 ตามเกณฑ์มาตรฐานทั้ง 3 ด้าน แต่การพัฒนาด้านสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมปฏิบัติไม่ผ่านเกณฑ์ครบทั้ง 40 ข้อ ซึ่งข้อที่ไม่ผ่านเป็นการบริหารจัดการเรื่องห้องส้วม การทำความสะอาดตลาด การจัดวางสินค้าสิ่งของวัสดุอุปกรณ์  การเก็บและรวบรวมขยะมูลฝอย ระบบบ่อดักไขมัน และกลุ่ม / ชมรมผู้ประกอบการตลาด  ตลาดประเภทนี้ยังต้องได้รับการพัฒนาให้เป็นไปตามเกณฑ์เนื่องจากเทศบาลที่ดูแลตลาดมีการเปลี่ยนแปลงผู้บริหารของเทศบาลบ่อยเกิดความไม่ต่อเนื่องของนโยบายการพัฒนา  การสนับสนุนงบประมาณล่าช้า  รวมทั้งยังขาดบุคลากรในการประสานงานระหว่างเทศบาลและผู้ประกอบการในตลาด  ผู้ประกอบการบางรายขาดความเข้าใจในการพัฒนาตลาดสดน่าซื้อไม่ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับ การขาดการประสานงานและการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างจริงจัง

 

Abstract

This descriptive case study aimed to compare the performances of the fresh  food market with citeria of  the Fresh Market Health Standard of Department of Health, Ministry of Public Health. This study was carry out in Loei province and researched from the market that passes the standard of Department of Healhty. The data was collected by; interviewing about knowledge of food sanitation among of households in two groups totaling 80 persons in the agency business, organizing focus-group discussion with vendor representatives, vendor committees and health authority with 24 persons and in-depth interview with two representative of local government. The research had collected between January to March 2555.

The results showed that 52.50% of vendors who selling goods in the ‘very good’ healthy market type had knowledge at moderate level while 47.50% had high knowledge level. The vendors with 92.50% also had attitude towards healthy market at good level. Conversely, 90.00% of vendors in those lower standard markets had knowledge at moderate while 10.00% of them had knowledge at minimal level, also their attitude towards the healthy market development was at moderate level. Vendors’ practice according to healthy market criteria of those good markets found they implemented market development activities type 1 following 3 criterions and passing physical standards 40 issues. Likewise, the lower standard market also did the same but implementation of environmental sanitation could not pass 40 issues. Key issues failing to meet the standard were; toilet, cleanliness, proper placement of goods, rubbish, greases trap, and vendor club/group organization. This type of market needed more development towards the health standard but as regular changing municipal executives then the market development policy was therefore not continuing. Others, budget supported to the market development was delayed as well as having no assignment person in coordinating implementation between municipal authority and the vendors. Some vendors lacked of understanding the healthy market development concept and practice and they even performed according to the regulation. Collaboration between vendors and concerned organizations was also lacking

Downloads