การพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธาในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

Authors

  • เอกภพ ซิ้มฉาย นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
  • พินิจ บุญนิธิดิลก นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ
  • พรทิพย์ ชุ่มเมืองปัก อาจารย์ประจำภาควิชาบริหารธุรกิจอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ

Keywords:

Civil Engineers, ASEAN Economic Community, Ability

Abstract

บทคัดย่อ

                 งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ 2) สมรรถนะด้านความรู้ 3) สมรรถนะด้านทักษะ 4) สมรรถนะด้านค่านิยม วิเคราะห์อิทธิพลต่อการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธาในเขตกรุงเทพ และปริมณฑล ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจำนวน 500 ชุด วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความถี่ การทดสอบค่าที การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 ตัวที่เป็นอิสระต่อกัน การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างตัวแปรมากกว่า 2 ตัวด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) การเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธี (Scheffe) และวิธีการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ (Multiple linear regression)

                ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ ด้านเพศ แตกต่างกัน ไม่มีผลต่อการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน ส่วนปัจจัยด้านประชากรศาสตร์ด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีอิทธิพลต่อการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานพบว่าผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีส่วนใหญ่มีอายุต่ำกว่า 30 ปี มีสถานภาพโสดการศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี  และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 25,000-50,000 บาท ในส่วนสมรรถนะด้านความรู้ สมรรถนะด้านทักษะ และสมรรถนะด้านค่านิยม โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสำคัญมาก ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า สมรรถนะทั้ง 3 ด้านมีอิทธิพลต่อการมีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Abstract

                 The objectives of this research were to examine 1) demographical factor, 2) knowledge competency, 3) skill competency, and 4) value competency and to analyze the effects on working performance of civil engineers in Bangkok and Metropolitan area. The sample was civil engineers in Bangkok and Metropolitan Region. 500 sets of questionnaire were used as a data-collecting tool. The collected data were analyzed for percentage, mean, standard deviation, frequency, t-test, the difference comparison of 2 independent variables, The difference comparison of more than 2 variables by using One-Way Anova, Scheffe approach and Multiple linear regression.

                 The results show that different genders (demographical factor) has no significant effect on working performance while age, status, education level and average salary do.  It was found that most of questionnaire responders were male whose age are under 30 years old and single, completed their bachelor degrees and earn 25,000 – 50,000 Baht for their salaries. However, their competencies of knowledge, skill and value are overall very significant. The result of hypothesis testing shows that all 3 competencies effect on working performance at the 0.05 level of significance.

References

กรมการจัดหางาน, กองวิจัยตลาดแรงงาน. (2560). ฐานข้อมูล E-database. สืบค้น 4 มกราคม 2560, จาก https://www.lmi1.doe.go.th/LMI4/counter_analye/
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. นนทบุรี: เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
พรนารี โสภาบุตร. (2555). แนวทางพัฒนาสมรรถนะผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมสาขาอุตสาหกรรม ระดับภาคีวิศวกร เพื่อเตรียมความพร้อมรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ). กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุรโชติ ปะละนัชสุข. (2556). การพัฒนาเกณฑ์การประเมินสมรรถนะวิศวกรโยธาในบริษัทที่ปรึกษาบริหารโครงการก่อสร้าง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิศวกรรมโยธา). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อุทัย มั่นวงศ์. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องสมรรถนะที่พึงประสงค์ของวิศวกรไฟฟ้าตามความต้องการของสถานประกอบการ. (รายงานผลการวิจัย). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Nexus Property Marketing Company Limited, อสังหา. (2560). ฐานข้อมูล E-database. สืบค้น 4 มกราคม 2560, จาก https://www.realist.co.th /blog/อสังหา-2560/

Downloads

Published

2019-02-14