องค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างผลึกของแร่ในจังหวัดเลย

ผู้แต่ง

  • พนัดดา พันธุวาปี นักศึกษาหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัญฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • พนิดา พิลาสุตา นักศึกษาปริญญาตรี สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • วีระศักดิ์ ซอมขุนทด อาจารย์ ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

คำสำคัญ:

สัมประสิทธิ์เซเบค, สภาพต้านทานไฟฟ้า, สภาพนำความร้อน

บทคัดย่อ

การวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างผลึกของแร่ตัวอย่างด้วยเครื่องวิเคราะห์การเรืองแสงรังสีเอกซ์  (XRF)  และเครื่องวิเคราะห์การเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์  (XRD)  การศึกษาสมบัติเทอร์มออิเล็กทริกของแร่ตัวอย่างที่อุณหภูมิห้องประกอบด้วยชนิดพาหะประจุ  สัมประสิทธ์เซเบค  สภาพต้านทานไฟฟ้า  และสภาพนำความร้อน  ชนิดพาหะประจุและสัมประสิทธิ์เซเบควัดโดยใช้วิธีขั้วความร้อน  สภาพต้านทานไฟฟ้าวัดโดยวิธีสี่ขั้วจุด  สภาพนำความร้อนหาได้จากเทคนิคสถานะคงตัว  ผลการวิเคราะห์จาก  XRF  พบแร่ตัวอย่างเป็นสารประกอบ  SiO2-Al2O3-P2O5-CaO-SO3-MgO-K2O  และ  BaO-K2O-SiO2-CaO-P2O5  ผลการวิเคราะห์จาก  XRD  พบเฟสของ  SiO2, CaO, SO3, BaO, K2O  และ  P2O5  จากการวัดสมบัติเทอร์มออิเล็กทรกของ  BaO-K2O-SiO2-CaO-P2O5  พบว่าเป็นชนิดเอ็น  สัมประสิทธิ์เซเบคมีค่าเท่ากับ  61.90±2.60 mV/K  สภาพต้านทานไฟฟ้ามีค่าลดลงกับการเพิ่มกำลังไฟฟ้าและอุณหภูมิ  สภาพนำความร้อนมีค่าเท่ากับ  215.56±33.43 W/m×K  จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้เป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการวิจัยต่อไป

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-30

How to Cite

พันธุวาปี พ., พิลาสุตา พ., & ซอมขุนทด ว. (2017). องค์ประกอบทางเคมีและโครงสร้างผลึกของแร่ในจังหวัดเลย. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 7(20), 89–99. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/106930

ฉบับ

บท

บทความวิทยานิพนธ์