แนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ

Authors

  • จรรจิรา ดาราชาติ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
  • ไพฑูรย์ มนต์พานทอง อาจารย์ ประจำคณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

Keywords:

Improvement Guideline Competency of students in Hospitality Affair Phuket Vocational College’s Thailand Professional Qualification Framework (TPQF)

Abstract

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินสมรรถนะโดยศึกษาช่องว่างระหว่างความสำคัญของสมรรถนะที่สถานประกอบการต้องการและผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรในสถานประกอบการโรงแรม ระดับผู้จัดการแผนก หัวหน้างานและผู้ร่วมงานในระดับปฏิบัติการของนักศึกษา ในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่มและแผนกแม่บ้านโรงแรม ซึ่งเป็นสถานประกอบการโรงแรมที่วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ตส่งนักศึกษาเข้ารับการฝึกงาน ปีการศึกษา พ.ศ.2559 ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา (Quota Sampling) จำนวน 318 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม โดยศึกษาและสร้างเครื่องมือการวิจัยสมรรถนะนักศึกษาตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ ระดับคุณวุฒิวิชาชีพ 4 ของสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ทั้ง 7 ด้าน ได้แก่ ความรู้ ทักษะ คุณสมบัติที่พึงประสงค์ ผลผลิต นวัตกรรม การประยุกต์ใช้ และความรับผิดชอบ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test, F-test, Paired Sample t-test และเครื่องมือการวิเคราะห์ความสำคัญและผลการดำเนินงาน (Importance-performance analysis: IPA)

จากการศึกษา พบว่า สมรรถนะของนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ตไม่เป็นไปตามความคาดหวังของสถานประกอบการ ต้องเร่งหาแนวทางการพัฒนานักศึกษาอย่างเร่งด่วน จำนวน 3 ด้าน คือ ด้านผลผลิต ด้านการประยุกต์ใช้และด้านความรับผิดชอบ โดยสามารถเสนอเป็นแนวทางการพัฒนาสมรรถนะนักศึกษาสาขาวิชาการโรงแรมของสถานศึกษาอาชีวศึกษาภูเก็ต ตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพเพื่อตอบสนองความคาดหวังของสถานประกอบการ โดยการจัดการเรียนการสอนเน้นกิจกรรมกลุ่มมาใช้ในการพัฒนา ความรับผิดชอบของนักศึกษา นำความรู้ทางทฤษฎีและเทคนิคในการปฏิบัติงานบูรณาการ การเรียนแบบโครงงานเป็นฐาน (Project- Based Learning : PBL) ส่งเสริมความสามารถปฏิบัติงานที่หลากหลายที่สอดคล้องกับทักษะการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21

 

The purposes of this study were 1) to assess competency by studying the gap between the importance of competency at the enterprises and the performance of students of the hotel Phuket Vocational college’s. 2) to propose a guideline for improving the competency of hotel students of Phuket Vocational College according to professional qualification framework in order to meet the expectation of enterprises. The 318 samples were management level and operational level staff from Food and Beverage and Housekeeping department in hotels which cooperate with Phuket Vocational College training program in 2016 academic year. Questionnaire was used in the research. Questionnaire consists of the professional qualifications level 4 which comprise of 7 competences: Knowledge, Skills, Attitude, Productivity, Innovation, Application and Responsibility. Statistics used in the analysis were frequency distribution, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test, Paired Sample t-test and Importance-performance analysis: (IPA)

From the study, it was found that the competency of students of the Phuket Vocational College  did not meet the expectation of the enterprises. Phuket Vocational College need’s to accelerate the development of students in three areas: product, application and responsibility. It can be proposed as a guideline for the development academic competency of student’s in Phuket's vocational college in the Thailand Professional Qualification Framework to meet the expectations of the enterprises by teaching and learning, group activities should be in the development. Student responsibilities apply theoretical knowledge and techniques in integrated practice. Project-based learning Project-Based Learning (PBL) promotes a variety of performance-based skills that align with 21st century learning.

References

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2559). ความหมายและความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว. สืบค้น 20 ธันวาคม 2559, จาก https://tourismatbuu.wordpress.com/.
จงจิตต์ ฤทธิรงค์ และรีนา ต๊ะดี. (2558). ข้อท้าทายในการผลิตแรงงานฝีมือไทยเพื่อเข้าสู่ตลาดแรงงานประชาคมเศรษฐกิอาเซียน. ใน อารี จำปากลาย,ปัทมา ว่าพัฒนาวงศ์ และกาญจนา ตั้งชลทิพย์ (บรรณาธิการ), ความหลากหลายทางประชากรและสังคมในประเทศไทย ณ ปี 2558, (น.129 – 147). นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
วิชชาพรรณ กิ่งวัชระพงศ์. (2554). รูปแบบการพัฒนาหลักสูตรฐานสมรรถนะ ด้านการโรงแรมและบริการงานบริการส่วนหน้าตามมาตรฐานอาชีพอุตสาหกรรมการโรงแรม. สืบค้น 20 ธันวาคม 2559, จากhttps://lib.dtc.ac.th/ thesis/0273/0273.pdf.
วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต งานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี. (2559). สาขางานที่เปิดสอนของวิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต ปีการศึกษา พ.ศ. 2559. ภูเก็ต: ฝ่ายวิชาการ วิทยาลัยอาชีวศึกษาภูเก็ต
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2559). การแข่งขันสูงของธุรกิจโรงแรม SME พร้อมปรับกลยุทธ์รับมือ. สืบค้น 20 ธันวาคม 2559, จาก https://www.kasikorn.com/th/business/sme.
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ(องค์การมหาชน). (2554). กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ. สืบค้น 25 ธันวาคม 2559, จาก https://www.tpqi.go.th/.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2550). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพ: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

Downloads

Published

2018-11-05