ปัญหาทางกฎหมายกับการลดการสูญเสียที่ดินของเกษตรกร

Authors

  • ดวงพร บุญเลี้ยง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • กรุณา ทาแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปิยวรรณ เสนาเจริญ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • ปิยะพร ศรีวิชา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Keywords:

การสูญเสียที่ดิน, เกษตรกร, จำนอง, ขายฝาก, loss of agricultural land, agriculturist, mortgage, sale with the right of redemption

Abstract

บทคัดย่อ

                สถานการณ์ปัจจุบันของประชาชนซึ่งเป็นผู้ทำงานในภาคเกษตรกรรมในประเทศไทยมีแนวโน้มการลดจำนวนลงทุกปี  สาเหตุส่วนหนึ่งอาจเกิดจากการสูญเสียที่ดินทำกินของเกษตรกร  ซึ่งปัจจัยหนึ่งของการสูญเสียที่ดินทำกิน คือ การนำที่ดินไปเป็นหลักประกันในการกู้ยืมเงินเพื่อนำมาลงทุนในการทำการเกษตร  โดยเฉพาะการนำที่ดินไปเป็นหลักประกันโดยวิธีขายฝาก ซึ่งกระบวนการบังคับตามหลักกฎหมายเรื่องการขายฝากเป็นกระบวนการที่เจ้าหนี้นิยมใช้เพราะหากผู้ขายฝาก (ลูกหนี้) ไม่ไถ่คืนทรัพย์สินที่ขายฝากภายในกำหนดระยะเวลาการขายฝาก  ทรัพย์สินที่ขายฝากนั้นย่อมตกเป็นของผู้ซื้อฝาก (เจ้าหนี้) เด็ดขาด โดยผู้ซื้อฝากไม่ต้องฟ้องร้องต่อศาลเพื่อบังคับตามสัญญาขายฝาก  นอกจากนี้ยังมีกลวิธีหลายประการที่ผู้ซื้อฝากเอารัดเอาเปรียบผู้ขายฝากอย่างไม่เป็นธรรม เช่น ผู้ขายฝากได้รับเงินไม่ตรงตามสัญญาขายฝากเพราะหลีกเลี่ยงกฎหมายที่ว่าราคาขายที่แท้จริงรวมกับประโยชน์ตอบแทนต้องไม่เกินร้อยละสิบห้าต่อปี ดังนั้น  ราคาขายฝากที่แท้จริงจึงไม่ถูกระบุในสัญญา  ปัญหาจากการขายฝากที่เกิดขึ้นจึงควรยกเลิกกฎหมายที่เกี่ยวกับการขายฝากเพื่อลดปัญหาการสูญเสียที่ดินของเกษตรกรดังกล่าว

 

Abstract

                At present, the number of people working as an agriculturist tends to decrease every year. This decline may be attributable to the loss of agricultural land by the farmers. One of the factors resulting in the land loss is when the farmers need money to invest in their agriculture; they use their lands as the security for lending by means of Sale with the Right of Redemption (Kai Fak). The creditors prefer this kind of transaction because if the debtors do not redeem their lands within the agreed period, the ownership of the land will be automatically and absolutely transferred to the creditors without filing a case to enforce the contract. In addition, the creditors use several unfair tactics to take advantage of the debtors. For example, the amount of money the debtors receive from the creditors is not equal to the amount specified in the contract because the creditors desire to avoid the law provision stating that a real price of redemption/ price of the sale together with the profit shall not exceed fifteen percent per annum. Therefore, the real price of the sale is not stipulated in the contract. As a consequence, law provision relating to sale with the right of redemption should be revoked in order to reduce the loss of land by agriculturists.

Downloads

Published

2018-04-25

How to Cite

บุญเลี้ยง ด., ทาแก้ว ก., เสนาเจริญ ป., & ศรีวิชา ป. (2018). ปัญหาทางกฎหมายกับการลดการสูญเสียที่ดินของเกษตรกร. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 12(42), 12–22. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/120031