คุณภาพการให้บริการรับชำระภาษีในทัศนะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี
Keywords:
คุณภาพการให้บริการ, ชำระภาษี, องค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน, service quality, tax payment, Khok Lamphanb sub-district administration organizationAbstract
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพการให้บริการรับชำระภาษีในทัศนะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีและ 2) เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการรับชำระภาษีในทัศนะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประเภทของการชำระภาษี กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี จำนวน 359 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบโควตา เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.864 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อมีนัยสำคัญทางสถิติจึงเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยเป็นรายคู่ โดยการทดสอบด้วยวิธีการของฟิชเชอร์
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพการให้บริการรับชำระภาษีในทัศนะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีด้านภาพรวมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณารายด้าน โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย คือ ด้านการตอบสนองอย่างรวดเร็ว ด้านความน่าเชื่อถือ ด้านความมั่นใจได้ ด้านความเข้าถึงจิตใจ และ ด้านลักษณะทางกายภาพ ตามลำดับ
2. คุณภาพการให้บริการรับชำระภาษีในทัศนะของประชาชนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลโคกลำพาน อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรีเมื่อจำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และประเภทของการชำระภาษี มีคุณภาพการให้บริการชำระภาษีไม่แตกต่างกัน
Abstract
The purposes of this research were to study the Public’s Perceptions on the Service Quality of Tax Payment in Khok Lamphan sub-district administrative organization, Muang district, Lop Buri province and to compare the Public’s Perceptions on the Service Quality of Tax Payment classified by gender, age, education level, occupation, monthly income, and types of tax payment. The samples used in this study were 359 people at Khok Lamphan sub-district selected byquota sampling. The research instruments used in this research was a questionnaire with reliability of 0.864. The data were analyzed by frequency, percentage, mean, S.D., one-way ANOVA, t-test, and Fisher ’ s least – significant difference (LSD)
The findings were as follows:
1. The public’ s perceptions on the service quality of tax payment as a whole was at a high level. When considered in descending order, there were immediate responsiveness, reliability, confidence, mental understanding and tangible objects respectively.
2. The comparison of the public’s perceptions on the service quality of tax payment classified by gender, age, educational level, monthly income, and types of tax payment was not different.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้