ปัจจัยส่วนบุคคลและความพึงพอใจในงานที่มีผลต่อการลาออกของพนักงาน บริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่ง

Authors

  • ชูเกียรติ จากใจชน อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • นัยนา จันจิระสกุล อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • จิราภรณ์ โภชกปริภัณฑ์ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • ทรงวุฒิ บุริมจิตต์ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
  • ศรีสมร สินทับ อาจารย์ประจำคณะจิตวิทยา วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

Keywords:

บริษัทข้ามชาติ, ความพึงพอใจในงาน, การลาออก, multinational company, job satisfaction, resignation

Abstract

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่า  ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงาน  ได้แก่  เพศ  อายุงาน และความพึงพอใจในงานของพนักงานมีผลต่อการลาออกของพนักงานจากบริษัทข้ามชาติแห่งหนึ่งช่วงปี พ.ศ. 2556-2559 อย่างไร  คณะผู้วิจัยทำการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามในเรื่องความพึงพอใจในงานของพนักงานจำนวน 67 คน ที่กำลังจะลาออกจากบริษัทไป ซึ่งอยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของสัญญาจ้างและปฏิบัติตามขั้นตอนก่อนการสิ้นสุดการว่าจ้างพนักงาน

                ผลการวิจัยพบว่า พนักงานที่มีอายุงานไม่เกิน 2 ปี ที่ลาออกในช่วงปี พ.ศ. 2556-2559 มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นในเรื่องความก้าวหน้าในวิชาชีพต่างจากพนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 2 ปี ที่ลาออกในช่วง ปี พ.ศ. 2556-2559 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05  กล่าวคือ  พนักงานที่มีอายุงานมากกว่า 2 ปี ที่ลาออกในช่วงปี พ.ศ.2556-2559 มีความพึงพอใจในเรื่องความก้าวหน้าในวิชาชีพน้อยกว่าพนักงานที่มีอายุงานไม่เกิน 2 ปี พนักงานที่ลาออกช่วงปี พ.ศ. 2556-2559 มีความพึงพอใจนอกงาน ได้แก่ ระบบการบริหารงานภายใน /ผู้บังคับบัญชา สภาพการทำงาน การติดต่อสื่อสาร/ประสานงาน ค่าตอบแทน/สวัสดิการสูงกว่าความพึงใจในงาน  อันได้แก่  ความก้าวหน้าในวิชาชีพและการฝึกอบรมและพัฒนา นอกจากนี้ยังพบความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานแต่ละด้านกับความพึงพอในงานด้านอื่นๆ

 

Abstract

                The purposes of this research were to investigate personal factors, for example gender, years of service and job satisfaction with respect to employees’ resignation in a multinational company between 2013 and 2016. The data obtained for this survey was from questionnaire constructed from reviewing relevant literature about employees’ job satisfaction for collecting data from 67 resigning employees. The results showed that there was a statistically significant difference in need for career growth between less than 2-service-year employees and more than 2-service-year employees. Less than 2-service-year employees had got higher score in need for career growth when compared to more than 2-service-year employees. After analyzing intrinsic and extrinsic satisfaction, employees hadn’t got higher score in intrinsic satisfaction when compared to extrinsic satisfaction. The results also showed that there were intercorrelations among six subscales of resigning employees’ job satisfaction.

Downloads

Published

2018-04-25