การวิเคราะห์การปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศในการทำงาน ความผูกใจมั่นในงานที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในงานในแต่ละรุ่นอายุของบุคลากรองค์การคาทอลิก เขตสาทร กรุงเทพมหานคร
Keywords:
การปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศในการทำงาน, ความผูกใจมั่นในงาน, ความพึงพอใจในงาน, resilience, work engagement, job satisfactionAbstract
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรุ่นอายุของบุคคลกับการปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศในการทำงาน ความผูกใจมั่นในงาน และความพึงพอใจในงาน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์เพศของแต่ละรุ่นอายุของบุคคล กับความพึงพอใจในงาน 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความผูกใจมั่นในงานของแต่ละรุ่นอายุของบุคคลกับความพึงพอใจในงาน และ 4) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศในการทำงาน ความผูกใจมั่นในงาน ของแต่ละรุ่นอายุของบุคคลที่สามารถใช้ทำนายความพึงพอใจในงาน
กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรองค์การคาทอลิกเขตสาทร จำนวน 328 คน แบ่งเป็นบุคลากรโรงพยาบาลคาทอลิกจำนวน 294 คน และบุคลากรวิทยาลัยคาทอลิกจำนวน 34 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 4 แบบวัด ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะทางประชากร แบบวัดการปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศในการทำงาน แบบวัดความผูกใจมั่นในงาน และแบบวัดความพึงพอใจในงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบสองทาง การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน สรุปผลการศึกษาได้ดังนี้
1. การปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศของบุคลากรคาทอลิกเขตสาทรในแต่ละรุ่นอายุของบุคคลไม่มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ความผูกใจมั่นในงานและความพึงพอใจในงานของบุคลากรคาทอลิกเขตสาทรในแต่ละรุ่นอายุของบุคคลมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
2. เพศของบุคลากรคาทอลิกเขตสาทรในแต่ละรุ่นอายุของบุคคลและความพึงพอใจในงานไม่มีแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความผูกใจมั่นในงานของบุคลากรคาทอลิกเขตสาทรในแต่ละรุ่นอายุของบุคคลมีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในงานมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. การปรับตัวเพื่อสู่ความเป็นเลิศในงาน ความผูกใจมั่นในงาน ของบุคลากรคาทอลิกเขตสาทรในแต่ละรุ่นอายุของบุคคลสามารถร่วมกันพยากรณ์ความพึงพอใจในงานได้ร้อยละ 40 (p<.05)
The objectives of the research were 1) to study the relationship between the mutigenerational catholic personnel related to the resilience, the work engagement and the job satisfaction 2) to study the relationship between the sexual of the mutigenerational catholic personnel with the job satisfaction 3) to study the relationship between the work engagement of the mutigenerational catholic personnel with the job satisfaction and 4) to study the relationship between the resilience, work engagement of the mutigenerational catholic personnel which could be used to predict job satisfaction.
The research samples were 328 employees of a catholic organization in Sathorn district, Bangkok, comprising 294 catholic hospital personnel and 34 catholic college personnel. The four research tools included: a demographic questionnaire, a resilience scale, a work engagement scale and a job satisfaction scale. The data were analyzed using statistical procedures including percentage, mean, One–Way ANOVA, Two – Way ANOVA, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient and Stepwise Multiple Regression. The research results were as follows:
1. The resilience of the mutigenerational catholic personnel was not different at the .05 level of significance. However, the work engagement and the job satisfaction of the mutigenerational catholic personnel were different at the .05 level of significance.
2. The gender of the mutigenerational catholic personnel and the job satisfaction were not different at the .05 level of significance.
3. The work engagement of the mutigenerational catholic personnel was positively related to the job satisfaction at the .01 statistical level of significance
4. The resilience, the work engagement of the mutigenerational catholic personnel could predict to job satisfaction at 40% significance at the .05 level.
References
ดาวใจ ศรลัมพ์. (2555). การศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความรัก ความมุ่งมั่น และความปราถนาที่จะทำงานเพื่อองค์กรอย่างเต็มความสามารถของบุคลากร 3 ช่วงวัย : กรณีศึกษา บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย (แก่งคอย) จำกัด. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และองค์การ) คณะพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
มณีรัตน์ ราศรีจันทร์. (2551). ความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจในงานกับความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการสาธารณสุข สังกัดสำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ปริญญา รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาทั่วไป). วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ. มหาวิทยาลัยบูรพา.
ศิริเพิ่ม เชาวน์ศิลป์ และสงคราม เชาวน์ศิลป์. (2542). ความพึงพอใจในงานของพนักงานในสถานประกอบการ รัฐวิสาหกิจ โรงแรม และโรงงาน ในเขตภาคเหนือ. วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย. 7(1), 19-28.
สุรพงษ์ มาลี. (2551). HR for HR การบริหารทรัพยากรบุคคลเพื่อหน่วยงานการบุคคล. วารสารข้าราชการ. 53(3), 52-58.
สำราญ บุญรักษา. (2539). ความพึงพอใจในงานและความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ สังกัดกรมสุขภาพจิต. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการพยาบาล). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Bakker, A. B., & Schaufli, W. B. (2008)Positive Organization behavior: Engaged employee in flourishing organization. Journal of Organization Behavior. 29. 147-154.
Hackman, R. J., Lawler, E. E. & Nadler, D. A. (1979). Managing organizational Behavior. United States of America: Little. Brown & Company (Canada) Limited.
Strauss and Howe. (2007). Millennials Go to College. LifeCourse Associates.
Yamane, Taro. (1970). Statistics : An Introduction Analysis. 2nd ed. New York : Harper & Row.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้