การจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย

Authors

  • ปูริดา บัวหลวง นักศึกษา หลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย
  • อารีรัตน์ ภูธรรมะ อาจารย์ประจำสาขาวิชาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย และเปรียบเทียบการจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย จำแนกตามข้อมูลทั่วไปของสมาชิก ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือ สมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย จำนวน 367 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้เป็นแบบสอบถามการจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่  ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐานใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่ด้วยวิธีของ Least Significant Difference 

ผลการศึกษาพบว่า

1. การจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\mu= 3.80) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการจัดองค์การ (gif.latex?\mu=3.91) รองลงมา คือ ด้านการสั่งการ  (gif.latex?\mu= 3.89)  ด้านการควบคุม  (gif.latex?\mu= 3.73) ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการวางแผน  (gif.latex?\mu= 3.72)  ตามลำดับ

2. การเปรียบเทียบการจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย พบว่า ในภาพรวม สมาชิกที่มีประเภทธุรกิจ และระยะเวลาการประกอบธุรกิจแตกต่างกัน มีการจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

This research aimed to study the management of member of Thai Women Empowerment Funds in Loei province and to compare the differences of the management of member. The population were 367 informants of member of Thai Women Empowerment Funds in Loei province. The tool for data collection was the survey questionnaire created by the researcher. Data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation. The statistics used to test the hypothesis is One Way Analysis of Variance. And compare the pairs with Least Significant Difference method.

The result showed that:

1. The overall management of member of Thai Women Empowerment Funds in Loei province were at good level (gif.latex?\mu= 3.80) and when considering each factor, it found all factors were at a good level. The highest mean was the organizing (gif.latex?\mu= 3.91), the leading (gif.latex?\mu= 3.89), the controlling (gif.latex?\mu= 3.73). The lowest mean was the planning   (gif.latex?\mu= 3.72).

2. The overall management of member of Thai Women Empowerment Funds in Loei province found member with different types of business and different periods of business had the management of member of Thai Women Empower Funds in Loei province differently with a statistical significance at .05.

Downloads

Published

2018-05-31

How to Cite

บัวหลวง ป., & ภูธรรมะ อ. (2018). การจัดการของสมาชิกกองทุนพัฒนาบทบาทสตรีจังหวัดเลย. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 13(43), 23–33. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/126288