แนวทางการพัฒนาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการพัฒนาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่ความเป็นเลิศภายใต้การบริหารแนวใหม่ กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย 2) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากลยุทธ์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย การเก็บรวบรวมข้อมูลเก็บด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มเป้าหมาย (Key informants) ประกอบด้วยกลุ่มข้าราชการในองค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย จำนวน 135 คน โดยกำหนดคุณลักษณะของกลุ่มตัวอย่างจากกลุ่มข้าราชการ ซึ่งครอบคลุมประเภทตำแหน่งต่างๆ ได้แก่ ประเภทอำนวยการ ประเภทวิชาการ และประเภททั่วไป และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร จำนวน 5 คน ผลการศึกษา พบว่า 1) สภาพการพัฒนาบุคลากรในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสู่ความเป็นเลิศภายใต้การบริหารแนวใหม่ ด้านที่มีสภาพความเป็นจริงในการปฏิบัติมากที่สุดคือ ด้านแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 81.11 รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ ร้อยละ 80.19 ด้านปัญหาอุปสรรคในการปรับเปลี่ยนระบบบริหารงาน ร้อยละ 78.07 และด้านการพัฒนากลยุทธ์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ร้อยละ 76.37 ตามลำดับ 2) แนวทางการพัฒนากลยุทธ์เพื่อพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมขององค์การบริหารส่วนจังหวัดเลย ได้แก่ การจัดทำแผนพัฒนาการมีส่วนร่วม สร้างวิสัยทัศน์ความเป็นผู้นำแก่บุคลากรปรับรูปแบบการบริหารงานสู่การบริหารแนวราบเพิ่มมากขึ้น พัฒนาการสื่อสารสองภาษา โครงการเสริมสร้างพลังอำนาจในตนเองของบุคลากรให้สามารถนำเอาศักยภาพมาใช้ในการดำเนินงานและพัฒนากระบวนการทำงานให้เป็นระบบ
This research had the objective to develop guidelines for personnel development toward performance excellence in a local administration organization by conducting a case study of the Loei Provincial Administration Organization (PAO). Date were collected by questionnaire filled out by 135 government civil servants working for the PAO. Respondents came from administrative, technical, and general sections of the PAO. Data were also collected by in-depth interviews with five senior administrators. This study had the following findings. Development of personnel by the PAO is applying new principles of excellence in administration. The strategy includes motivation for performance (81%), followed by organizational development for excellence (80%), management reform (78%), and development of human resources development mechanisms (76%), and constant need for PAO equipment maintenance. Guidelines for personnel development for the PAO include participatory plans for development, a shared vision for personnel leadership, a more horizontal management structure, improvement of language skills, empowerment training for staff to apply their potential to the work, and developing more systematic operations of the PAO.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้