การศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อความสามารถทางพหุปัญญา ในเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่เป็นเด็กด้อยโอกาสจังหวัดสุรินทร์

Authors

  • ศิริยุภา วรชินา 0982847006
  • สาวิตรี ทยานศิลป์ อาจารย์ ประจำสถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ปิยะธิดา ขจรชัยกุล อาจารย์ ประจำภาควิชาอนามัยครอบครัว คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

Keywords:

Food behavior consumption, Early childhood, Disadvantaged children

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ความสามารถทางพหุปัญญาและอิทธิพลของพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อความสามารถทางพหุปัญญาในเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่เป็นเด็กด้อยโอกาสจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) ขนาดกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีทั้งเด็กชายและหญิงที่เป็นเด็กด้อยโอกาสโดยอาศัยอยู่ในครอบครัวที่ยากจนในจังหวัดสุรินทร์จำนวน 106 คน เครื่องมือการวิจัย คือ แบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และแบบทดสอบความสามารถทางพหุปัญญา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้สถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการศึกษาพบว่า เด็กส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการบริโภคอาหารอยู่ในระดับปานกลาง มีความสามารถทางพหุปัญญาอยู่ในระดับอ่อน และไม่พบว่าพฤติกรรมการบริโภคอาหารมีอิทธิพลต่อความสามารถทางพหุปัญญาในเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จากที่การศึกษานี้พบว่า เด็กมีพฤติกรรมการบริโภคอาหารยังไม่เหมาะสมตามวัย เช่น ขาดการบริโภคอาหารเช้าทุกวัน ขาดการบริโภคอาหารครบทั้ง 3 มื้อทุกวัน ขาดการบริโภคผักและผลไม้เป็นประจำ และดื่มนมทุกวันค่อนข้างน้อย ดังนั้นจำเป็นต้องมีการส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารให้แก่เด็กกลุ่มนี้ เพื่อให้มีพฤติกรรมการบริโภคที่เหมาะสมตามวัยยิ่งขึ้น ควบคู่ไปกับการส่งเสริมกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กด้อยโอกาส ประเภทยากจน

 

The objective of this research is to scrutinize the food consumption behavior, the multiple intelligences, and the influence of food consumption behavior on the multiple intelligences of disadvantaged early childhood aged 5-6 years old in Surin Province. This research is quantitative research. The sample was both male and female (106 persons) who lived with their poor families. The research instruments were the food consumption behavior questionnaire and the paper test on the multiple intelligences of disadvantaged early childhood. Regression Statistics analysis revealed that children who had the food consumption behavior in the middle level had low-level multiple intelligences. However, the study did not reveal the significant statistics result of the mutual influence of food consumption behavior on the multiple intelligences of disadvantaged early childhood aged 5-6 years old. This research showed that children had inappropriate food consumption behavior, skipping breakfast, absence of whole main courses, inadequate consumption of vegetables and fruits consumption, and low-habitual milk drinking on daily basis. Therefore, it is essential to conduct promotion on appropriate food consumption for disadvantaged early childhood aged 5-6 years old, especially poor children in order to enhance their food consumption behavior as well as the promotion for the activities that support the multiple intelligences.

 

References

กรมสุขภาพจิต. (2555). รายงานการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงกรมสุขภาพจิต. (2555). รายงานการสำรวจสถานการณ์ระดับสติปัญญาเด็กนักเรียนไทย. กรุงเทพฯ: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2555). แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย (แรกเกิดถึงก่อนเข้าประถมศึกษาปีที่ 1) ตามนโยบายรัฐบาลด้านเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2555-2559. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
จักรกฤษณ์ วังราษฎร์. (2554). พฤติกรรมการบริโภคอาหารของเด็กก่อนวัยเรียนที่พ่อแม่ไปขายแรงงานต่างถิ่น. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 9(3), 312-323.
นัยพินิจ คชภักดี. (2551). พัฒนาการของสมอง. โครงการวิจัยชีววิทยาระบบประสาทและพฤติกรรม. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
นัยพินิจ คชภักดี. (2557). เอกสารประกอบการอบรมเชิงปฏิบัติการ Denver II การพัฒนาสมองของเด็กปฐมวัยแบบบูรณาการวิทยาศาสตร์ยุคใหม่ที่ท้าทายต่อการพัฒนามนุษย์. อบรมเชิงปฏิบัติการ Denver II. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ปวีณา วงศ์วรกิจ, สาวิตรี ทยานศิลป์ และปิยะธิดา ขจรชัยกุล. (2559). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่เกิดจากมารดาวัยรุ่น: กรณีศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). จาก www.nicfd.cf.mahidol. ac.th.
แพง ชินพงศ์. (2551). 10 ปีทศวรรษเพื่อเด็กและภูมิปัญญาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล.
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย. (2554). เอกสารออกแบบแผนงานโปรแกรมสังขะ จังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย.
มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย. (2559). รายงานโครงการการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการประจำปี 2016. กรุงเทพฯ: มูลนิธิศุภนิมิตแห่งประเทศไทย.
ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2554). รายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่4พ.ศ.2551-2552. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2557, จาก http://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/report/report6.pdf
ลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2556). รายงานการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคภาวะโภชนาการและพฤติกรรมสุขภาพเด็กอายุ 6 เดือน – 14 ปี. สงขลา: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
วราภรณ์ เสถียรนพแก้ว และวิชัย เอกพลากร. (2554). รายงานการสํารวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย ครั้งที่4 พ.ศ. 2551-2552. สืบค้น 25 พฤษภาคม 2557, จาก http://www.hiso.or.th/ hiso/picture/reportHealth/report/report6.pdf.
ศิริกุล อิศรานุรักษ์. (2550). การอบรมเลี้ยงดูเด็ก. วารสารสาธารณสุขและการพัฒนา, 5(1), 105-117.
สายฤดี วรกิจโภคาทร, บัญญัติ ยงย่วน, สาวิตรี ทยานศิลป์ และลัดดา เหมาะสุวรรณ. (2551). 10 ปีทศวรรษเพื่อเด็กและภูมิปัญญาครอบครัว. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล.
สุริยเดว ทรีปาตี และวิมลทิพย์ มุกสิกพันธ์. (2556). คุณภาพชีวิตเด็ก 2556. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: แอ๊ปป้า พริ้นติ้ง กรุ๊ปจำกัด.
สุนีย์ สหัสโพธิ์ และจักรกฤษณ์ ทองคำ. (2560). โภชนาการพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เสนาะ อูนากุล และสุทธิลักษณ์ สมิตะสิริ. (2545). อาหาร โภชนาการ สลักสำคัญในการพัฒนา. พิมพ์ครั้งที่ 1. นครปฐม: สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล.
เสาวนีย์ จักรพิทักษ์. (2544). หลักโภชนาการปัจจุบัน. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือการดำเนินการงานการคัดกรองเด็กนักเรียนยากจน พ.ศ. 2560. สืบค้น 10 สิงหาคม 2560, จาก http://plan.bopp-obec.info.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). รายงานสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ปี 2558. สืบค้น 29 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.nesdb.go.th
สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน. (2557). นิยามเด็กด้อยโอกาส. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการอภิวัฒน์การเรียนรู้สู่จุดเปลี่ยนประเทศไทย.
สำนักงานสถิติแห่งชาติและองค์กรยูนิเซฟ. (2556). รายงานฉบับสมบูรณ์ การสำรวจสถานการณ์เด็กและสตรีในประเทศไทย พ.ศ. 2555. กรุงเทพฯ: สำนักงานสถิติแห่งชาติ.
สำนักโภชนาการ. (2558). คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพด้านโภชนาการในคลินิคสุขภาพเด็กดี. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักโภชนาการ. [ม.ป.ป.]. แบบประเมินพฤติกรรมการบริโภคอาหารเด็ก6-18 ปี. สืบค้น 12 พฤศจิกายน 2558, จาก http://nutrition. anamai.moph.go.th.
อัญชลี สรรพตานนท์, สาวิตรี ทยานศิลป์ และปิยะธิดา ขจรชัยกุล. (2560). การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัย อายุ 5-6 ปี ที่อาศัยอยู่ในครอบครัวข้ามรุ่น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). ค้นจาก www.nicfd.cf.mahidol.ac.th
อัญมณี บูรณกานนท์. (2550). แผนยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาเด็กยากจน 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552). กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อาจารี ศรีดาวเรือง. (2555). การพัฒนาเครื่องมือวัดความสามารถทางพหุปัญญาสำหรับเด็กปฐมวัย (ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อารี สัณหฉวี. (2554). ทฤษฎีการเรียนรู้ของสมอง สำหรับพ่อแม่ ครู และผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: สุวีริยสาส์น
Chang S.M. Walker S.P. Grantham-Mc Gregor S. &Powell CA. (2002). Early childhood stunting and later behavior and school achievement. Retrieved from http://onlinelibrary.wiley. com/doi/10.1111/1469-7610.00088/pdf.
Erkan S., & Ozturk B. M. (2013). A Study on the multiple intelligences of kindergarteners from different socioeconomic backgrounds. Social and Behavioral Sciences, 106, 250-258.
Jin Y.K. & Seung W.K. (2017). Relationships between dietary intake and cognitive function in healthy Korean children and adolescents, Journal of lifestyle medicine, 7(1), 10-17. Doi: 10.15280/Jim.2017.7.1.10

Downloads

Published

2018-11-05

How to Cite

วรชินา ศ., ทยานศิลป์ ส., & ขจรชัยกุล ป. (2018). การศึกษาอิทธิพลของพฤติกรรมการบริโภคอาหารต่อความสามารถทางพหุปัญญา ในเด็กปฐมวัยอายุ 5-6 ปี ที่เป็นเด็กด้อยโอกาสจังหวัดสุรินทร์. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 13(45), 44–55. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/129207