คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี
Keywords:
คุณภาพชีวิตในการทำงาน, work life qualityAbstract
การวิจัยเรื่อง คุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความพึงพอใจในการทำงาน และปัจจัยคุณภาพชีวิตที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานบริษัท ในเขตนิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร ชลบุรี ตามปัจจัยพื้นฐานส่วนบุคคล วิธีการวิจัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้สถิติทดสอบ t-test, (One-Way ANOVA), Correlation และ Regression จากผลการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถสรุปได้ ดังนี้
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตการทำงาน ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านรายได้และประโยชน์ตอบแทน ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านโอกาสในการพัฒนาตนเอง ด้านความก้าวหน้า และความมั่นคงในงาน ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านลักษณะการบริหารงาน ด้านความสมดุลในชีวิตการทำงาน และด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม อยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยคุณภาพชีวิตที่มีความสัมพันธ์ กับความพึงพอใจในการทำงาน ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ด้านรายได้และประโยชน์ตอบแทนมีระดับความสัมพันธ์ปานกลางทิศทางเดียวกัน ด้านปัจจัยด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพมีระดับความสัมพันธ์น้อยมากทิศทางเดียวกัน ด้านโอกาสในการพัฒนาตนเองมีระดับความสัมพันธ์สูงทิศทางเดียวกัน ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน มีระดับความสัมพันธ์สูงทิศทางเดียวกัน ด้านสังคมสัมพันธ์มีระดับความสัมพันธ์น้อยทิศทางเดียวกัน ด้านลักษณะการบริหารงานมีระดับความสัมพันธ์น้อยทิศทางเดียวกัน ด้านความสมดุลในชีวิตการทำงานมีระดับความสัมพันธ์น้อยทิศทางเดียวกัน ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคมมีระดับความสัมพันธ์น้อยมากทิศทาง
3. ปัจจัยคุณภาพชีวิตมีอิทธิพลกับความพึงพอใจในคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงาน ผลการทดสอบสมมุติฐาน พบว่า ด้านรายได้และประโยชน์ตอบแทน เรื่องการได้รับเงินเดือนที่เหมาะสมกับตำแหน่ง และภาระงาน พอใจในอัตราเงินเดือนและผลตอบแทนต่างๆ พอใจกับสวัสดิการที่ได้รับ ค่าตอบแทนที่เพียงพอกับภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ได้รับเงินรางวัลตอบแทนประจำปีอย่างยุติธรรม และได้รับค่าตอบแทนล่วงเวลาอย่างยุติธรรม ด้านสภาพการทำงานที่มีความปลอดภัยและส่งเสริมสุขภาพ ด้านโอกาสในการพัฒนาตนเอง เรื่องได้รับการสนับสนุนในการฝึกอบรม ได้ใช้ความรู้ ความสามารถ และความคิดสร้างสรรค์ในการปฏิบัติงาน การพัฒนางานที่รับผิดชอบ สามารถถ่ายทอดความรู้ให้กับบุคคลอื่นได้ ด้านความก้าวหน้าและความมั่นคงในงาน เรื่องความพอใจในความก้าวหน้าในหน้าที่ หน่วยงานมีความมั่นคง ตำแหน่งหน้าที่มีความมั่นคง และมีความก้าวหน้าในอาชีพ ด้านสังคมสัมพันธ์ เรื่องได้รับการยอมรับ การให้เกียรติในศักยภาพ มีการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความสัมพันธ์ มีการกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบชัดเจน ได้รับการช่วยเหลือจากผู้บริหารและผู้ร่วมงาน ด้านลักษณะการบริหารงาน เรื่องการแสดงความคิดเห็นในการปรับปรุงงาน การประเมินผลการปฏิบัติงานชัดเจน ผู้บริหารชมเชยและขอบคุณเมื่อปฏิบัติงานบรรลุผลสำเร็จ และการให้เกียรติเคารพในสิทธิส่วนบุคคล ด้านความสมดุลในชีวิตการทำงาน เรื่องเวลาเพื่อการพักผ่อนส่วนตัว ปริมาณงานเหมาะสมกับตำแหน่ง และครอบครัวสนับสนุนเมื่อต้องปฏิบัติงานล่วงเวลา มีความภาคภูมิใจที่ปฏิบัติใน มีเวลาให้กับครอบครัวอย่างเพียงพอ ด้านความเป็นประโยชน์ต่อสังคม เรื่องหน่วยงานมีส่วนร่วมกับกิจกรรมเพื่อสังคม ได้พัฒนางานเพื่อหน่วยงานให้เป็นที่ยอมรับจากภายนอก มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในการทำงาน อย่างมีนัยสำคัญที่ .05
The objectives of this study, Work Life Quality at AmataNakorn Industrial Estate, Chonburi were 1) to study the job satisfaction and 2) to identify the factors affecting the job satisfaction of the employees. The quantitative research was applied. The 400 questionnaires were used to collect the data from employees at AmataNakorn Industrial Estate, Chonburi. The statistics used in this study were frequency, percentage, mean, standard deviation, the t-test, one-way ANOVA correlation and regression analysis.
The results of the study indicated that
1. The job satisfaction of the employees in general was in excellent. When considering in details, it was found that the adequate and fair compensation, the hygienic safety and health, the self-development opportunity, the advancement and job security, the social relations, the operational conditions, the balance of work, and the interoperability and relations to society were in excellent respectively.
2. The factors towards the job satisfaction were increased statistical significantly at the level of .05. The data were discovered that a) the self-development opportunity and the advancement and job security were excellent, b) the adequate and fair compensation were moderate, and c) the hygienic safety and health, the social relations, the operational conditions, the balance of work, and the interoperability and relations to society were poor.
3. The factors towards the job satisfaction of the employees were increased statistical significantly at the level of .05. The data were revealed that a) the adequate and fair compensation related to salary, job description, working welfare, overtime rate should be fare and suitable for the economic conditions, b) the hygienic safety and health and the self-development opportunity related to training program, creativity in working and knowledge transfer should be promoted, c) the advancement and job security related to job promotion should be clear, d) the social relations related to working acceptance, relationship building activities, job description, and supervisor and colleague guidance should be provided, e) the operational conditions related to working evaluations should be accepted after finishing the assigned work, f) the balance of work related to working load should be considered, and g) the interoperability and relations to society related to social activities should be recognized by outsiders.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้