สถานการณ์เกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารในประเทศไทย
Keywords:
การบังคับใช้กฎหมาย, การคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร, law enforcement, food consumer protectionAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์สถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหาร เนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันทางธุรกิจในกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร การผลิตและห่วงโซ่อาหารซับซ้อนมากขึ้น ผลิตภัณฑ์อาหารมีความหลากหลาย มีเทคโนโลยีการผลิต และกลยุทธ์ทางการตลาดในการส่งเสริมการขาย ทำให้ผู้บริโภคอยู่ในสถานะเสียเปรียบ กอปรกับมีกฎหมายและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคจำนวนมาก คณะผู้วิจัยได้ศึกษาข้อมูลจากกลุ่มผู้บริโภคอาหารที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปในย่านชุมชนเมือง ผู้ประกอบการ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและนักกฎหมายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จำนวน 789 คน จาก 6 ภูมิภาคของประเทศไทย โดยใช้แบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่ามีอาหารที่ไม่ปลอดภัยต่อผู้บริโภคอยู่ในระดับมาก ผู้ประกอบการไม่คำนึงถึงความปลอดภัยและคุณภาพของวัตถุดิบในการผลิตอาหารอยู่ในระดับมาก อาหารได้รับการควบคุมคุณภาพจากหน่วยงานที่รับผิดชอบอยู่ในระดับน้อย มีการร้องเรียนจากผู้บริโภคพอสมควร ผู้บริโภคยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคและหน่วยงานที่รับผิดชอบ การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังไม่มีการบูรณาการเท่าที่ควร การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการสุ่มตรวจอาหารยังไม่ทั่วถึง มีการโฆษณาเกินจริงจำนวนมาก หน่วยงานและเจ้าหน้าที่ รวมทั้งกลไกและมาตรการในทางกฎหมายยังไม่เหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน เนื่องจากการละเมิดสิทธิของผู้บริโภค การผลิตอาหารและระบบห่วงโซ่อาหารมีความซับซ้อนมากขึ้น ดังนั้นควรมีการปฏิรูปกฎหมาย เพื่อสร้างกลไก และมาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารเพื่อให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์ การบูรณาการระหว่างหน่วยงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งเรื่องอาหารศึกษา และความรู้เกี่ยวกับสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายทั้งแก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการด้านอาหารในระบบห่วงโซ่อาหารจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นเพื่อประสิทธิภาพในการคุ้มครองผู้บริโภคด้านอาหารต่อไป
This research aims to study the the situation of the law enforcement on food consumer protection. At present, there are the business competition in the food product group, production and food chain are more likely complicated. The food products are various. There are production technology and marketing strategies for the sale promotion leads to the consumers are in disadvantageous state. In addition, there are many laws and related institutions. The researchers performed the data collection by using questionnaires from the food consumers who aged 18 years and over in the urban community, entrepreneurs, the consumer protection staffs and lawyers from the related institutes in total 789 participants from 6 regions of Thailand. The study results showed that there were unsafe food for consumer at a high level. The entrepreneurs did not concern about safety and quality of the raw materials in the food production was at the high level. The food was quality controlled at the low level. There were several complaints from consumers. Consumers lacked of knowledge and understanding about the consumer protection and the responsible institutes. Many related institutes were lacked of the work integration. The information dissemination and randomly food inspections were not coverage. There were many excessive advertisements. The institutes, staffs, mechanisms and laws regulations were not suitable with the present situation. Because of the consumer violation, food production and food chain were more complicated. Therefore, the laws reforms to create the mechanism and laws regulations related to the food consumers protection to be suitable for the situation. There should be integrate among institutes including the food study and knowledge about rights and law obligations for both consumers and food entrepreneurs in the food chain systems, which was important and essential for the efficiency of the food consumers protection.
References
จุฑา สังขชาติ เปรมรัตน์ อุไรรัตน์ สายใจ ปริยวาที และสมชาย ละอองพันธุ์. (2548). การวิจัยเพื่อพัฒนาเครือข่ายการดำเนินงานคุ้มครองผู้บริโภคเชิงบูรณาการในจังหวัดสงขลา กรณีศึกษา : ผลิตภัณฑ์อาหารและยา. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.).
ประพนธ์ กองมะลิกันแก้ว และคณะ. (2556). กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค. การฝึกอบรมหลักสูตรกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค มหาวิทยาลัยนอตติงแฮม สหราชอาณาจักร. สำนักการต่างประเทศ.
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2541
พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2556
พระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ. 2551
พระราชบัญญัติความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นจากสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551
พิกุล เสียงประเสริฐ และคณะ. (2557). รูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการสาธารณสุข สำนักวิชาการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. 23(6), 984-991.
เยาวพา กองเกตุ. (2559). มาตรการทางกฎหมายอาญาในความผิดต่อการเผยแพร่สื่อลามกในอินเตอร์เน็ต. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. 11(36), 12-21.
รัชดาพร สังวร. (2555). ปัญหาบางประการในการบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยความรับผิดในสินค้าที่ไม่ปลอดภัยในประเทศไทย. SDU Res. J. 8 (3): 189-198.
ศักดา ธนิตกุล. (2552). คำอธิบายและคำพิพากษาเปรียบเทียบกฎหมายความรับผิดต่อความเสียหายที่เกิดจากสินค้าไม่ปลอดภัย. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
สรีรโรจน์ สุกมลสันต์ วรรณา ศรีวิริยานุภาพ และวิทยา กุลสมบูรณ์. (2559). ความชุกและการกระจายของสินค้าไม่ปลอดภัยในประเทศไทย. วารสารวิจัยสาธารณสุข, 10(1), 65-79.
สิริพันธุ์ จุลกรังคะ. (2550). โภชนศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. (2557). สถิติรับเรื่องราวร้องทุกข์ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค. สืบค้น 16 สิงหาคม 2561, จาก https://www.hiso.or.th /hiso/tonkit/tonkits_24.php.
สุษม ศุภนิตย์. (2554). คำอธิบายพัฒนาการของกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคของไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรปฏิบัติหน้าที่สำนักงานเลขาธิการสภาปฎิรูปแห่งชาติ. (2558). วาระปฎิรูปที่31: การปฎิรูประบบการคุ้มครองผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้