การศึกษาตลาดท่องเที่ยวเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี
Keywords:
การตลาดท่องเที่ยว, ธุรกิจท่องเที่ยว, การสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน, tourism marketing, tourism business, creating a competitive advantageAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการตลาดท่องเที่ยวของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานีในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพื่อนำไปพัฒนายุทธศาสตร์ธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานีเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยหรือผู้ให้ข้อมูลหลัก (Key information) ผู้วิจัยใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) คือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดยุทธศาสตร์จังหวัด นักวิชาการ ภาคเอกชน เช่น ฝ่ายการตลาดโรงแรม บริษัททัวร์ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น จำนวน 20 ท่าน โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา โดยใช้โปรแกรม Atlas วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ
ผลการวิจัยพบว่า สภาพการตลาดท่องเที่ยวของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานีในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน ในครั้งนี้ได้ค้นพบส่วนผสมทางการตลาดของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานี ประกอบไปด้วย ด้านผลิตภัณฑ์ (Product) ราคา (Price) ช่องทางการจัดจำหน่าย (Place/Process of delivery) การส่งเสริมการตลาด (Promotion) สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ (Physical Environment) คน (People) การจัดรวมผลิตภัณฑ์ (Package) ความร่วมมือทางธุรกิจ (Partnership/Participation) กระบวนการท่องเที่ยว (Process) ฤดูกาลทางการท่องเที่ยว (Period) นโยบายสาธารณะ (Public policy)
ข้อเสนอแนะ ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องควรนำแนวทางจากการศึกษาสภาพการตลาดท่องเที่ยวของธุรกิจท่องเที่ยวในจังหวัดอุดรธานีจากรายงานวิจัยฉบับนี้ไปปฏิบัติเพื่อการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันในอนาคต
This research is aimed to study the marketing of tourism in term of business advantages creating Province and establishing the competitive tourism business strategies in Udon Thani province. The researcher used purposive selection to the participants. The participants were 20 stakeholders related to Udon Thani province strategies creating as scholars, the marketing department of business sectors such as Hotel, Touring, and Shopping mall. The instrumentation of the research were the in-depth interview. The qualitative data were analyzed by Atlas Program. The finding and result revealed that the marketing mixes which effecting to the tourism business advantages were product, price, place/process of delivery, promotion, physical environment, people, package, partnership/participation, process, period, and public policy.
Suggestion: Government and business sector would take the results of this study to regulate and to make the advantage of competition in future.
References
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์. (2554). การวางแผนและพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ภาควิชาศิลปาชีพ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ชาย โพธิสิตา. (2556). ศาสตร์และศิลป์แห่งการวิจัยเชิงคุณภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์ พลับ ลิสซิ่ง.
ทักษิณา คุณารักษ์. (2546). การตลาดและการตัดสินใจซื้อของนักท่องเที่ยว. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
เทิดชาย ช่วยบำรุง. (2558). องค์ประกอบด้านการพัฒนาการตลาดท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: คณะการจัดการการท่องเที่ยว สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สำนักงานจังหวัดอุดรธานี.(2559). สถานการณ์การท่องเที่ยวจังหวัดอุดรธานี. อุดรธานี: สำนักงานจังหวัดอุดรธานี.
สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. (2557). สถานประกอบการธุรกิจนำเที่ยวที่ขึ้น ทะเบียน. นครราชสีมา: สำนักงานทะเบียนธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์ สาขาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ.
Aaker, D. (1998). Marketing Strategic Management. Singapore: Wiley & Sons. Inc.
Doyle, Peter. (2002). Marketing Management and Stratege. 3rd ed. Singapore: Prentice-Hall.
Varadarajan and Jayachandran. (1999). Market strategy: an assessment of the state of The field and outlook. Journal of the Academy of marketing Science, 27(2), 120-143.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้