รูปแบบการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาความใส่ใจในอาชีพชุมชน เทศบาลตำบลเปือยน้อย อำเภอเปือยน้อย จังหวัดขอนแก่น
Keywords:
การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้, อาชีวเชิงสร้างสรรค์, ความใส่ใจในอาชีพชุมชน, development of learning, vocational creative, attention careerAbstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การรวมกลุ่มอาชีพในพื้นที่เทศบาลตำบลเปือยน้อย เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนเพื่อความใส่ใจในอาชีพชุมชน อาชีวเชิงสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อความใส่ใจในอาชีพชุมชน และขับเคลื่อนรูปแบบการเรียนรู้เพื่อความใส่ใจในอาชีพชุมชนสู่กลุ่มเป้าหมาย คน ในการประกอบอาชีพด้วยความใส่ใจในอาชีพ กลุ่มเป้าหมายประกอบไปด้วย ผู้นำชุมชน (ผู้ใหญ่บ้าน) ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านและกลุ่มอาชีพในเทศบาลตำบลเปือยน้อย จำนวน 100 คน โดยใช้การวิจัยแบบผสานวิธี ซึ่งใช้การวิจัยเชิงคุณภาพเป็นหลักและประยุกต์ใช้ คุณลักษณะ และวิธีวิทยา และวิจัยเพื่อท้องถิ่น (CBR) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสำรวจชุมชน การเปิดเวทีชาวบ้าน การสนทนา การสนทนากลุ่มย่อย การศึกษาสถานการณ์การประกอบอาชีพชุมชน การสัมภาษณ์ การสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูล โดยการพรรณนาวิเคราะห์เนื้อหาผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้
สถานการณ์กลุ่มอาชีพเทศบาลตำบลเปือยน้อยปัจจุบันในการประกอบอาชีพเกษตรกรลดลง สาเหตุเกิดจากการส่งเสริมของภาครัฐและภาคอุตสาหกรรม ส่งเสริมการปลูกพืชเชิงเดียว ใช้สารเคมีในการผลิต ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การพึ่งพาตัวเองลดลง ต้องอาศัยอาหารจากแหล่งภายนอก ส่งผลให้ต้นทุนสูง และการประกอบอาชีพเกษตรกรเพื่อการยังชีพลดลง ภูมิปัญญาวัฒนธรรม ประเพณีถูกครอบงำด้วยระบบทุนนิยม การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อความใส่ใจในอาชีพชุมชนได้ดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1) การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เพื่อความใส่ใจในอาชีพชุมชน 2) การสร้างความใส่ใจในอาชีพชุมชน 3) การสร้างสรรค์รายได้ และ 4) การแก้ไขขีดจำกัดทางสังคมที่สร้างความบกพร่องในชีวิต โดยยึดหลักพุทธธรรมนาถกรณธรรม 10 และหลักของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ขับเคลื่อนกลุ่มอาชีพชุมชนในการประกอบอาชีพ สร้างรูปแบบในการแก้ปัญหา เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมในระดับปัจเจกบุคคล ครอบครัว ระดับชุมชนและท้องถิ่น พัฒนาองค์ความรู้สู่ภูมิปัญญาไทยต่อไป
The purposes of this research were to 1) Study occupation integration situation in Puainoi Subdistrict municipality. 2) Develop learning style for the attention in community creative occupation. 3) And learning style for the attention in community creative occupation to target groups. The 100 target groups were from community leader (village headman), local wise people, villagers and occupation integrations in Puainoi Subdistrict municipality. This research used mixed methods approach based on qualitative research and applied the research characteristic, methodology and (from) community base research. The instruments used in this research were community surveys, community forum organized villagers, conversations, groups is conversation, community occupation study, interview and in-depth in terview. The data analizing was the descriptive analysis.
The research finding showed that:
The occupation integration situation in Puainoi Subdistrict municipality shown that, the agriculturists were reducing. Caused of the government sector and industrial sector promote the monoculture crops, the use of chemicals, destroy nature resources and the environment, self-reliance decreased, the living rely on an external food supply that effect to the high cost of living and the agriculture for sustenance decreased, local wisdoms , culture and tradition were dominated by capitalist system. The learning style developing for the attention in community creative occupation steps were 1) Learning style development for the attention in community creative occupation. 2) Create attention in community occupations. 3) Increase the income and 4) Solve the social limits that create a life’s defect. Adopting Buddhism’s Nadhakaranadhamma 10 and the philosophy of sufficiency economy to propel community occupation integration in their professional career, create the problem solving format in economy, social and culture all in individual, family and community to develop the knowledge to Thai wisdom.
References
เกล็ดนที ไชยชนะ. (2549). การจัดการความรู้ กรณีศึกษาวิทยาลัยการอาชีพศีขรภูมิ. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต การบริหารการศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ. (2545). เกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ.
คมศักดิ์ เจียมวัฒนาเลิศ. (2553). การพัฒนากระบวนการจัดการความรู้ของโรงเรียนเสนาธิการทหารบก. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการทหาร). กรุงเทพฯ: โรงเรียนเสนาธิการทหารบก กระทรวงกลาโหม.
จิตติมงคลชัย อรัญญา. (2540). การศึกษาชุมชนเพื่อการพัฒนา. (เอกสารประกอบการเรียนภาควิชาการพัฒนาชุมชน). กรุงเทพฯ: คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
จำเนียร บุญมากและคณะ. (2553). รายงานการวิจัยเรื่อง การพัฒนาการจัดการองค์ความรู้ด้านธุรกิจเกษตรอินทรีย์เพื่อสร้างความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชนอย่างยั่งยืน (รายงานผลการวิจัย). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
ชยันต์ วรรธนะภูติ. (2546). การกำหนดกรอบคิดในการวิจัย. กรุงเทพฯ: คู่มือการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อการพัฒนา สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ทองหล่อ วงษ์ธรรมา. (2554). การเปรียบเทียบความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับการบริหารงานธนพรรณธานี. (การศึกษาชุมชน เอกสารประกอบการสอน ภาควิชาพัฒนาสังคม คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543). พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง.
ประเวศ วะสี. (2542). เศรษฐกิจพอเพียงและประชาสังคม. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน.
ประสาน ตังสิกบุตร. (2553). การศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. (เอกสารประกอบการสอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ชัชพงศ์ ทองขัน และสุพรรษา สมโพธิ์. (2552). กระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษากับการพัฒนาชุมชน. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่.
ประพนธ์ ผาสุกยืด. (2549). การจัดการความรู้. สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม (สคส.). กรุงเทพฯ : บริษัท ใยไหมครีเอทีฟกรุ๊ฟ จำกัด.
พะยอม วงศ์สารศรี. (2542). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์สุภาจำกัด.
พระพรหมคุณากรณ์ ป.อ.ปยุตโต. (2555). พุทธธรรม ฉบับปรับขยาย. พิมพ์ครั้งที่ 35. กรุงทพฯ: สำนักพิมพ์ผลิธัมม์.
พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้