ทัศนะคติของบุคลากรที่มีต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ กับเทศบาลตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น

Authors

  • นงนุช งามดี นักศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Keywords:

หลักธรรมาภิบาล, เทศบาลตำบล, การบริหาร, good governance, sub-district municipality, administration

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรต่อการบริหารงานตามหลัก  ธรรมาภิบาล และเสนอแนะแนวทางการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ระหว่าง เทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ กับ เทศบาลตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative research) โดยการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับผู้บริหารเทศบาล และพนักงานเทศบาลของเทศบาลทั้ง 2 แห่ง จำนวน 28 คน ในการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 หลัก ได้แก่หลักนิติธรรม หลักคุณธรรม หลักความโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม หลักความรับผิดชอบ และหลักความคุ้มค่า ผลการศึกษา พบว่า เทศบาลทั้ง 2 แห่ง ได้ถือปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาลทั้ง 6 ด้าน ดังนี้ 1) เทศบาลตำบลบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น ได้นำหลักธรรมาภิบาล มาใช้ค่อนข้างมากในทุกด้าน มีการออกกฎระเบียบที่ทันสมัยเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของประชาชน ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดมั่นในคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริต เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่หลากหลาย ประชาชนรับรู้ข้อมูลได้อย่างทั่วถึง มีการนำแผนจากการประชาคมลงสู่เทศบัญญัติ และมีการจัดสรรงบประมาณด้วยความเป็นธรรม 2) เทศบาลตำบลบ้านแก้ง จังหวัดชัยภูมิ ได้นำหลัก   ธรรมาภิบาลมาใช้ค่อนข้างน้อยในทุกด้าน มีการออกกฎระเบียบที่เป็นธรรม และเป็นที่ยอมรับของประชาชน ผู้บริหาร และพนักงาน ยึดมั่นในคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์สุจริต ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดำเนินงานกับเทศบาลน้อย เนื่องจากไม่มีการอบรมให้ความรู้ความเข้าใจกับประชาชน มีช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารน้อย การจัดสรรงบประมาณยังไม่เป็นธรรม ยังเน้นในเรื่องของการหาเสียงของนักการเมือง สำหรับข้อเสนอแนะแนวทาง การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลต่อเทศบาลตำบลบ้านแก้ง จังหวัดชัยภูมิ ควรดำเนินการดังนี้ 1) ด้านการมีส่วนร่วม ควรมีการแก้ไขในด้านการเข้ามามีส่วนร่วมของประชาชนกับเทศบาล 2) ด้านหลักความโปร่งใส ควรจะต้องมี วิธีการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารด้วยช่องทางการประชาสัมพันธ์ข้อมูลที่หลากหลาย เพื่อที่ประชาชนสามารถรับรู้ข้อมูลมากที่สุด 3) ด้านหลักนิติธรรม ควรจะต้องมีการจัดทำเทศบัญญัติของเทศบาลมุ่งเน้นให้เกิดความเป็นธรรม และต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชน 4) ด้านหลักคุณธรรมควรจะต้องมีวิธีการดำเนินการส่งเสริมให้ผู้บริหาร และพนักงานมีการปฏิบัติงานที่ยึดมั่นคุณธรรมและมีความซื่อสัตย์ เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ประชาชน 5) ด้านหลักความคุ้มค่า ควรจะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ และความจำเป็นเร่งด่วน ของแผนงาน/โครงการต่างๆ ของเทศบาล เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน 6) ด้านหลักความรับผิดชอบ เทศบาลควรได้ตระหนักในอำนาจหน้าที่ของตนเองที่มีหน้าที่ต้องปฏิบัติต่อประชาชนโดยมีความเอาใจใส่ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นของชุมชน

 

The purposes of this qualitative research were to compare staff’s opinions for good governance between Ban Kaeng Sub-district Municipality, PhuKhieo District, Chaiyaphum Province and Ban Had Sub-district Municipality, Ban Had District, KhonKaen Province and to propose ways to administrate for good governance. Data were cottected through structured interviews 28 people with who were administrators and employees of two municipalities about their opinions toward  the administration of the 6 principles of good governance, including Rule of Law,Transparancy, Participation Accountability and  Worthiness. The results showed that the two municipalities have adopted all six principles of good governance as follows 1) Ban Had Sub-district Municipality, Ban Had District, KhonKaen Province has adopted the principles of good governance quite a lot in all aspects. There were fairly modern rules and regulations, fair and acceptable to the public. Administrators and employees adhered to the morality and honesty, and to be good model for the people. Public relations were provided in various forms and people can access them thoroughly. People have involved in the implementation and have brought plans from the community to regulation and they have  managed the budget allocation with fairness. 2) Ban Kaeng Sub-district Municipality, PhuKhieo District, Chaiyaphum Province has adopted the principles of good governance quite a few in every aspect. Rules and regulations were fair and acceptable to the public. Administrators and employees adhere to the morality, quite few people have involved in the implementation and participated in municipality’s particular regulations because they were not provided knowledge about the work of the municipality. Moreover, the municipality did not work on public relation to provide the information to the public. The budget allocation was unfair and it was focused on the local politicians, campaign. The recommendations for administration applying in good governance of Ban Kaeng Sub-district Municipalities, Chaiyaphum Province were 1) the participation should be resolved in the part of public participation in municipal politics, 2) for transparency, the municipality should distribute the information to public in various forms. So people could get the most of it. 3) The rule of law should be manipulated according to municipal ordinance focusing on fairness fairness and be approved by the public. 4) The moral principles should be encouraged to carry out formalities executives including employees to adhere to the morality and the honesty. They should be model for the public 5) principle ranked according to the value. should be priority and the urgent need of the programs / projects of the municipalities to provide the most benefit to the public. 6) The primary responsibility, municipalities should realize the authority of their own. Municipalities are responsible for their duty by paying attention to the communities’ problems.

Downloads

Published

2018-08-17

How to Cite

งามดี น. (2018). ทัศนะคติของบุคลากรที่มีต่อการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ศึกษาเปรียบเทียบระหว่างเทศบาลตำบลบ้านแก้ง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ กับเทศบาลตำบลบ้านแฮด อำเภอบ้านแฮด จังหวัดขอนแก่น. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 11(35), 47–58. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/160716