ความแตกต่างระหว่างการเพิกถอนการฉ้อฉลกับการโอนทรัพย์สินที่เป็นโมฆะ
Keywords:
หนี้, การโอนทรัพย์, การเพิกถอน, โมฆะ, debt, transfer of property, revocation, voidAbstract
บทคัดย่อ
เมื่อบุคคลใดก่อหนี้ขึ้นย่อมมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ที่ตนได้ก่อขึ้นนั้น หากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้แต่กลับโอนทรัพย์สินของตนเองให้แก่บุคคลอื่นไปเสีย จนทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้หรือทำให้เจ้าหนี้ต้องเสียประโยชน์ในการบังคับชำระหนี้ การกระทำในลักษณะดังกล่าวย่อมทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายเนื่องจาก ไม่อาจบังคับชำระหนี้เอาจากลูกหนี้ได้ ปัญหาเหล่านี้กฎหมายได้กำหนดวิธีการแก้ไขไว้ ด้วยการให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้เพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ หรือที่เรียกว่าการเพิกถอนการฉ้อฉลเพื่อทำให้ทรัพย์สินที่ลูกหนี้โอนไปยังบุคคลอื่นกลับมาเป็นของลูกหนี้ดังเดิม แต่ทว่าในบางกรณีก็ไม่อาจจะเพิกถอนการฉ้อฉลได้ เนื่องจากการโอนทรัพย์สินเหล่านั้นได้กลายเป็นโมฆะไปเสียแล้ว บทความนี้จึงต้องการนำเสนอให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่าง การเพิกถอนการฉ้อฉลกับการโอนทรัพย์สินที่เป็นโมฆะ เพื่อประโยชน์ในการใช้กฎหมายได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป
Abstract
When a person makes a debt, he or she will have the responsibility to repay the debt that he or she has created. If the debtor does not pay the debt, but transfer their property to another person and that cause the debtor cannot repay the debt or the creditors lose interest in enforcing debt. Such actions inevitably cause creditors suffered because no debt can be forced. The law has been fixed this problems by giving creditors the right to request the court to have a judgment or order to revoke the juristic act. It is called revocation of fraudulence. Aim to bring the property transferred back to the debtor. However, in some cases cannot be revoke fraudulent due to the transfer of those assets has become void. This article is intended to present the difference between the revocation of fraudulence and the transfer of the property which is void. For the sake of lawful use properly and appropriately.
References
ไพโรจน์ วายุภาพ. (2558). รวมคำบรรยาย ภาค 1. กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา.
วิเชียร ดิเรกอุดมศักดิ์. (2559). แพ่งพิสดาร เล่ม 1. กรุงเทพฯ: แสงจันทร์การพิมพ์.
ศนันท์กร โสตถิพันธุ์. (2557). คำอธิบายนิติกรรมสัญญา. กรุงเทพ: วิญญูชน.
ศนันท์กร โสตถิพันธุ์. (2557). คำอธิบายกฎหมายลักษณะละเมิดจัดการงานนอกสั่ง และลาภมิควรได้. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.
ศักดิ์ สนองชาติ. (2557). คำอธิบายประมวลแพ่งและพาณิชย์นิติกรรมสัญญา. กรุงเทพ: นิติบรรณาการ.
โสภณ รัตนากร. (2551). คำอธิบายประมวลกฎหมายและและพาณิชย์ว่าด้วยหนี้บทเบ็ดเสร็จทั่วไป. กรุงเทพฯ: นิติบรรณาการ.
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2560). ปัญหาหนี้ครัวเรือน. สืบค้น 21 กรกฎาคม 2560, จาก http://www.bot.or.th.
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้