Investigatigating the Mistakes in Thai Essay Writing Among Native Thai Secondary Students: A Case of the Three Southern Provinces of Thailand
Keywords:
mistakes in Thai essay writing, students who have Thai as their mother tongue, junior high school, education in the three southern border provinces, ข้อผิดพลาดการเขียนเรียงความภาษาไทย, นักเรียนที่มีภาษาไทยเป็นภาษาแม่, มัธยมศึกษาตอนต้น, การศึกษาในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้Abstract
This article aims to analyze the mistakes in Thai essay writing of junior high school students who have Thai as their mother tongue in the three southern border provinces of Thailand by using the essay writing ability test. The instrument used in this research is the test to measure the ability in writing a Thai essay according to the desirable characteristics of the Basic Education Core Curriculum B.E. 2551 (A.D. 2008).
The results revealed that there were four aspects of mistakes found in writing Thai essays, namely, spelling including consonants, vowels, tone markers and marks, form including the wrong use of punctuation or the lack of punctuation, incomplete introduction or summary sections, indentation, and the contents unrelated to given topics, word choice including the use of spoken language, redundancy, using wrong words, the wrong use of transliterated words, the lack of transitions, the wrong use of transitions, using different levels of words and the wrong use of royal words, and, sentence structure including unclear or ambiguous sentences, incomplete sentences or the lack of important parts of the sentences, putting modifiers at the wrong places, and run-on sentences.This research also found a mistake with a specific characteristic that was this group of students also used the southern dialect and English transliteration in their writing, indicating that the habitat and external influence affect language usage of the students.
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดการเขียนเรียงความภาษาไทยของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ที่ใช้ภาษาไทยเป็นภาษาแม่ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนใต้ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน ปีการศึกษา 2560 โดยใช้แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนเรียงความภาษาไทย เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบวัดความสามารถการเขียนเรียงความภาษาไทยตามคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
ผลการวิจัยพบข้อผิดพลาดการเขียนเรียงความภาษาไทย 4 ด้าน คือ ด้านการสะกดคำ ได้แก่ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์ และเครื่องหมาย ด้านการใช้คำ ได้แก่ การใช้ภาษาพูดหรือภาษาปาก การใช้คำฟุ่มเฟือย การใช้คำผิดความหมาย การใช้คำทับศัพท์ผิด การขาดคำเชื่อม การใช้คำเชื่อมผิด การใช้คำต่างระดับภาษา และการใช้คำราชาศัพท์ไม่ถูกต้อง ด้านรูปแบบ ได้แก่ การใช้วรรคตอนผิดหรือไม่มีวรรคตอน ส่วนนำหรือส่วนสรุปบกพร่อง การย่อหน้า และการเขียนไม่สอดคล้องกับหัวข้อที่กำหนด ด้านรูปประโยค ได้แก่ สื่อความไม่ชัดเจนหรือกำกวม ประโยคไม่สมบูรณ์หรือขาดส่วนสำคัญในประโยค การวางส่วนขยายผิดที่ และการสื่อความไม่จบประโยค ซึ่งผลงานวิจัยนี้พบข้อผิดพลาดที่มีลักษณะเฉพาะที่พบในงานวิจัย คือ นักเรียนในกลุ่มนี้จะปนภาษา โดยใช้ภาษาถิ่นใต้และภาษาอังกฤษในการทับศัพท์ แสดงให้เห็นว่าอิทธิพลถิ่นที่อยู่จากการแทรกแซงจากภาษาแม่ และอิทธิพลภายนอกมีผลต่อการใช้ภาษาของนักเรียน
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้