The Relationship Between Quality of Work Life and Organizational Commitment of Employees at Thai Jurong Engineering Co., Ltd.
Keywords:
quality of work life, organizational commitment of employees, คุณภาพชีวิตการทำงาน, ความผูกพันต่อองค์การAbstract
This study had three major purposes: 1) to study the quality of work-life, level of organizational commitment, 2) comparing organizational commitment classified by personal information, and 3) to compare the relationship between quality of woke-life and organizational commitment. A questionnaire was distributed to 172 employees and analyzed data in statistic application of percentage, mean, t-test, one-way ANOVA, and Correlation.
The average overall picture of the opinions on the quality of work-life and organizational commitment was at a high level. The results of hypothesis testing revealed that the difference in personal patterns, such as age, duration of employment, and average monthly income affected organizational commitment of employees. The average overall picture of the opinions on the relationship between quality of woke life and organizational commitment were at a high level in the same direction with the following reasons, the pride in the organization, career path, work stability, social relations, freedom from work, and the aspect of administration.
Suggestions to be a guideline for improving the quality of work-life, to build the relationships with the organization, the administrative officers should encourage and support employees to learn new innovation, to increase work efficiency, allowing employees the opportunity to work that requires greater ability and responsibility, organize activities to strengthen good relations between employees in the organization, communicate and listen to the opinions of operational staff, arrange working hours to create a balance between work and family time, publicize to employees about the benefits and social responsibility of the organization in order to create pride.
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานระดับความผูกพันต่อองค์การ 2) เปรียบเทียบความผูกพันต่อองค์การจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ศึกษาจากพนักงานบริษัท ไทย จูรอง เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เลือกตัวอย่างจำนวน 172 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา สถิติที่ใช้คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย t-test การวิเคราะห์แบบ ANOVA ใช้ F-test (One-way ANOVA) และ Correlation
คุณภาพชีวิตการทำงานภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสำคัญมาก ความผูกพันต่อองค์การภาพรวมค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ปัจจัยส่วนบุคคลด้านอายุ อายุงาน และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ที่แตกต่างกันมีผลต่อความผูกพันต่อองค์การที่แตกต่างกัน คุณภาพชีวิตการทำงานมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อองค์การ ในภาพรวมมีระดับความสัมพันธ์สูงมากทิศทางเดียวกันโดยคุณภาพชีวิตการทำงานด้านที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับความสัมพันธ์สูงทิศทางเดียวกัน ได้แก่ ด้านความภูมิใจในองค์การ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในการทำงาน ด้านสังคมสัมพันธ์ ด้านความอิสระจากงาน และด้านลักษณะการบริหารงาน
ข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตการทำงาน เพื่อสร้างความผูกพันต่อองค์การ ผู้บริหารควรส่งเสริมสนับสนุนให้พนักงานได้เรียนรู้นวัตกรรมใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน เปิดโอกาสให้พนักงานได้มีโอกาสทำงานที่ต้องใช้ความสามารถและความรับผิดชอบที่มากขึ้น จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพนักงานในองค์การ สื่อสารและรับฟังความคิดเห็นของพนักงานระดับปฏิบัติการจัดเวลาการทำงานให้เกิดความสมดุลระหว่างการทำงานและการให้เวลากับครอบครัว ประชาสัมพันธ์ให้พนักงานรับทราบถึงประโยชน์และความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์การเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจ
Downloads
Published
How to Cite
Issue
Section
License
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้