The Guideline of Wellness Tourism Activities Development in Western Thailand

Authors

  • ประพนธ์ เล็กสุมา Tourism and Hotel Program, Nakhon Pathom Rajabhat University
  • ธนวรรษ ดอกจันทร์ Tourism and Hotel Program, Nakhon Pathom Rajabhat University
  • มัชฌิมา อุดมศิลป์ Tourism and Hotel Program, Nakhon Pathom Rajabhat University
  • อารีรัตน์ ฟักเย็น Tourism and Hotel Program, Nakhon Pathom Rajabhat University
  • นิพล เชื้อเมืองพาน Tourism and Hotel Program, Nakhon Pathom Rajabhat University

Keywords:

wellness tourism, wellness tourism and western Thailand, การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ, กิจกรรมเชิงสุขภาพและภูมิภาคตะวันตก

Abstract

                 This research aimed to study the pattern and development of wellness tourism activities in the western region. Using a qualitative research by documentary analysis and in-depth interviews with wellness tourism stakeholders who consist of community leaders, entrepreneurs, local community, tourists, government and private sectors, a total of 50 samplings. Data were determined with Triangulation and were analysed by content analysis. The results revealed that there were 5 potential areas in western include 1) Mahasawat Community in Nakhon Pathom was Wellness Tourism which applied local agricultural products as a tourism identity, 2) Lao Tuk Lak floating market in Ratchaburi was Local Tourism that applied local resources and creative local products for wellness activities and products, 3) Nong Ya Plong hot spring in Phetchaburi was Wellness Tourism that had crucial tourism resources including natural hot spring, local agricultural products and a health relaxing massage centre, 4) Pa La – U community in Prachup Khiri Khan was Nature Tourism that applied natural resources for health promotion activities, and 5) Nong Rong Community in Kanchanaburi was Community Based Tourism that applied local resources for wellness products. They were synthesized the guidelines for activity development, namely added new activities, developing and applying local resources to value added.

 

                 การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาเพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคตะวันตก ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสารและสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มผู้ประกอบการ คนในชุมชน นักท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสิ้น 50 คน จากนั้นตรวจสอบข้อมูลด้วยการตรวจสอบแบบสามเส้า นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า พื้นที่ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคตะวันตกประกอบด้วย 5 ชุมชน ได้แก่  1) ชุมชนท่องเที่ยวล่องเรือคลองมหาสวัสดิ์  จังหวัดนครปฐมเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพที่ประยุกต์ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรที่มีในชุมชนเป็นเอกลักษณ์ทางการท่องเที่ยว 2) ชุมชนตลาดน้ำเหล่าตั๊กลัก จังหวัดราชบุรี รูปแบบการท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนที่ประยุกต์ทรัพยากรในพื้นที่ และผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างสรรค์เพื่อกิจกรรมและผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพ 3) ชุมชนพุน้ำร้อนหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพมีทรัพยากรการท่องเที่ยวที่สำคัญได้แก่ พุน้ำร้อนธรรมชาติ สินค้าเกษตรพื้นบ้าน และศูนย์นวดผ่อนคลายเพื่อสุขภาพ 4) ชุมชนป่าละอู จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งธรรมชาติ ที่ประยุกต์ใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติเพื่อกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ และ 5) ชุมชนหนองโรง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นรูปการท่องเที่ยวชุมชน ที่ประยุกต์ทรัพยากรในพื้นที่เพื่อผลิตภัณฑ์เชิงสุขภาพ โดยสามารถสังเคราะห์แนวทางการพัฒนากิจกรรมได้คือ การเพิ่มกิจกรรม การพัฒนา และการประยุกต์ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นเพิ่มมูลค่า

Downloads

Published

2019-12-27

How to Cite

เล็กสุมา ป., ดอกจันทร์ ธ., อุดมศิลป์ ม., ฟักเย็น อ., & เชื้อเมืองพาน น. (2019). The Guideline of Wellness Tourism Activities Development in Western Thailand. Research and Development Journal, Loei Rajabhat University, 14(49), 20–30. Retrieved from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/207005

Issue

Section

Research article