บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้าน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์

ผู้แต่ง

  • นันทิยา สัตยวาที อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • รตา อนุตตรังกูร อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
  • ธีรพงศ์ พรหมวิชัย อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

คำสำคัญ:

คนไร้บ้าน, สวัสดิการสังคม, คุณภาพชีวิต

บทคัดย่อ

                บทความนี้เป็นการศึกษาสถานการณ์คนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และศึกษาบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้านในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์คนไร้บ้านในจังหวัดนครสวรรค์มีแนวโน้มดีขึ้น คนไร้บ้านมีจำนวนลดลง ร้อยละ 55 ในเวลา 5 ปี คนไร้บ้านเปลี่ยนแปลงรูปแบบจากการขอทานไปสู่การขอทานแฝงในธุรกิจ ซึ่งเข้าข่ายการค้ามนุษย์และส่งผลให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา หน่วยงานหลักที่ดูแลคนไร้บ้านในจังหวัดนครสวรรค์ คือ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีหน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งทับกวาง จังหวัดสระบุรี,  สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดนครสวรรค์, อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.), องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, สหวิชาชีพ ฯลฯ ในเชิงบทบาทหน้าที่ แบ่งการทำงานเป็น 2 ส่วน คือ งานดูแลกลุ่มเป้าหมาย และงานดูแลกลุ่มเสี่ยง บทบาทและหน้าที่เชื่อมโยงกับการกำหนดยุทธศาสตร์ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่มีการวางแผนยุทธศาสตร์การคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2560-2564  ภายใต้วิสัยทัศน์ คนไร้ที่พึ่งได้รับการคุ้มครองและเข้าถึงสิทธิ เพื่อการมีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนั้นบทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้านในจังหวัดนครสวรรค์ จึงส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีของคนไร้บ้านและประชาชนในจังหวัดนครสวรรค์

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). แผนขับเคลื่อนการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2561-2565. สืบค้นจาก http://www.bsws.go.th/attach/f1-t1546490994.pdf

พระราชบัญญัติการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง พ.ศ. 2557. (2557, 23 ธันวาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 131 ตอนที่ 83.

พฤทธิสาณ ชุมพล. (2548). ระบบการเมือง: ความรู้เบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พงศธร สรรคพงษ์. (2558). สาเหตุและความต้องการของคนเร่ร่อนที่ทอดทิ้งครอบครัวในพื้นที่เขตเทศบาลนครพิษณุโลก. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

วันทนีย์ วาสิกะสิน. (2546). สังคมสงเคราะห์แนวสตรีนิยม ทฤษฎีและการปฏิบัติงาน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริพร วัฒนสุวกุล (สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์). (2561). จังหวัดนครสวรรค์จัดประชุมคณะอนุกรรมการคุ้มครองคนไร้ที่พึ่ง ครั้งที่ 1/2561. สืบค้นจาก http://thainews.prd.go.th/website_th/news/print_news/TNSOC6105170010013

สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครสวรรค์. (2558). การจัดระเบียบคนขอทานในจังหวัดนครสวรรค์. สืบค้นจาก http://www.nakhonsawan.m-society.go.th/?p=1549

อนรรฆ พิทักษ์ธานิน. (2559). รายงานการวิจัย เรื่อง การสำรวจข้อมูลทางประชากรเชิงลึกของคนไร้บ้านในเขตกรุงเทพมหานครและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง (รายงานการวิจัย โครงการการสำรวจสถานการณ์คนไร้บ้านและสร้างการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายอย่างเป็นระบบในพื้นที่กรุงเทพมหานคร). กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.

Russell, M.N. (1990). Clinical Social Work Research and Practice. Sage: Publications.

Penguin homeless. (2561ก). ทำไมการจับกุมคนไร้บ้านในอเมริกาจึงไม่แก้อะไร นอกจากสร้างปัญหาใหม่ขึ้นมา. สืบค้นจาก https://penguinhomeless.com/homeless-recreational-vehicle/

Penguin homeless. (2561ข). เมือง LA เตรียมแผนสร้างศูนย์พักพิงทุกเขต สู้วิกฤตคนไร้ที่อยู่อาศัย. สืบค้นจาก https://penguinhomeless.com/california-today-los-angeles-homeless/

The Matter. (2561). โลกของคนไร้บ้าน ว่าด้วยชนชั้น และการพิสูจน์ความเป็นตัวเองต่อสังคม. สืบค้นจาก https://thematter.co/thinkers/homeless-world/51863

ผู้ให้สัมภาษณ์

เจ้าหน้าที่ 1. (2562, 1 กุมภาพันธ์). หัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์. [สัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ 2. (2562, 1 กุมภาพันธ์). นักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์. [สัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ 3. (2562, 1 กุมภาพันธ์). หัวหน้าฝ่ายสวัสดิการสงเคราะห์ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์. [สัมภาษณ์].

เจ้าหน้าที่ 4. (2562, 1 กุมภาพันธ์). นักสังคมสงเคราะห์ ศูนย์คุ้มครองคนไร้ที่พึ่งจังหวัดนครสวรรค์. [สัมภาษณ์].

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-04-27

How to Cite

สัตยวาที น., อนุตตรังกูร ร., & พรหมวิชัย ธ. (2021). บทบาทของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายในการดูแลคนไร้บ้าน ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 16(56), 1–10. สืบค้น จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/researchjournal-lru/article/view/245013