การคาดการณ์ผลกระทบและการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของสถานประกอบการในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง
คำสำคัญ:
นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง, ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการคาดการณ์ผลกระทบและการเตรียมความพร้อมในการปรับตัวของผู้ประกอบการ พร้อมทั้งศึกษาความสัมพันธ์ของการเตรียมความพร้อมกับการคาดการณ์ โดยเลือกตัวอย่างตามความสมัครใจจำนวน 30 แห่ง จากทั้งหมด 144 แห่ง ผลการวิจัยพบว่าร้อยละ 66.70 จากตัวอย่างทั้งหมด คาดการณ์ว่าจะไม่ได้รับผลกระทบและยังมองเห็นทิศทางที่ดี ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ยังคงมีความกังวลด้านผลประกอบการที่ยังคาดการณ์ไม่ได้จากการสภาพแข่งขันที่จะสูงขึ้น และข้อจำกัดด้านเงินทุนของอุตสาหกรรมขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถใช้โอกาสนี้ในการขยายการลงทุนได้ สำหรับการเตรียมความพร้อมพบว่าสถานประกอบการมีการเตรียมพร้อมค่อนข้างมากในการทบทวนและจัดทำแผนงาน การพัฒนาทักษะแรงงาน แต่ขณะเดียวกันผลก็ชี้ให้เห็นถึงความไม่พร้อมในการปรับตัวเพื่อการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมโดยเฉพาะในอุตสาหกรรมขนาดกลางและเล็ก ในการศึกษาความสัมพันธ์ของการเตรียมความพร้อมกับการคาดการณ์ สิ่งที่พบอย่างชัดเจนคือแม้ว่าผู้ประกอบการส่วนใหญ่คาดว่าจะไม่ได้รับผลกระทบแต่ก็ไม่ได้เพิกเฉยต่อการพัฒนาที่กำลังเกิดขึ้น และอุตสาหกรรมขนาดเล็กไม่ค่อยมีการเตรียมความพร้อมเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่นๆ นำมาสู่ข้อเสนอแนะที่ว่าภาครัฐควรมีแนวทางในการส่งเสริม หรือให้การช่วยเหลือเพื่อลดอุปสรรค ข้อจำกัดที่แตกต่างกันไป และเพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ อันเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศอีกทางหนึ่ง
References
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2562). กฎกระทรวงกำหนดจำนวนการจ้างงานและมูลค่าสินทรัพย์ถาวรของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม พ.ศ. 2545. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/Segmentation/Business/Pages/SMEs.aspx
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2563). ยกระดับทักษะคนไทย กลไกพัฒนาชาติ. สืบค้นจาก https://www.bot.or.th/Thai/BOTMagazine/Pages/256306TheKnowledge_ThaiMeeNganTum.aspx
นราทิพย์ ชุติวงศ์. (2546). หลักเศรษฐศาสตร์ I: จุลเศรษฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บุญเรียง ขจรศิลป์. (2539). วิธีวิจัยทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: ฟิสิกส์เซนเตอร์การพิมพ์.
พัฒนะ พบสุภาพ และ ไอมิ นาคามูรา. (2562). การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก. สืบค้นจาก http://rs.mfu.ac.th/obels/?p=1855
รัตนา สายคณิต และ พุทธกาล รัชธร. (2557). เศรษฐศาสตร์การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560, พฤษภาคม). การพัฒนาพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลตะวันออก และระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก. สืบค้นจาก https://www.nesdc.go.th/ewt_w3c/ewt_dl_link.php?filename=esdps&nid=6677.
สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน. (2560). สืบค้นจาก www.boi.go.th/upload/Investment _1612_ 28432.pdf.
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2560, 24 สิงหาคม). ร่างยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี. สืบค้นจาก https://spm.thaigov.go.th/FILEROOM/spmthaigov/DRAWER004/GENERAL/DATA0000/00000362.PDF.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2555, 2 มีนาคม). เทคนิคการสุ่มตัวอย่าง และการประมาณค่า. สืบค้นจาก http://service.nso.go.th/nso/nsopublish/Toneminute/files/55/A3-16.pdf.
สำนักงานศุลกากรมาบตาพุด. (2561, 22 มีนาคม). โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก: กรณีจังหวัดระยอง. สืบค้นจาก https://maptaphut.customs.go.th/data_files/2e3855f2ac3a6881fec4d1801623c4be.pdf
สุรินทร์ หลวงนา. (ม.ป.ป.). การคำนวณขนาดตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง. สืบค้นจาก https://www.ubu.ac.th/web/files_up/08f2016052509464793.pdf.
Davis, L. L. (1992). Instrument review: Getting the most from a panel of experts. Applied Nursing Research, 5, 194-197.
Hambleton, R. K., Swaminathan, H., Algina, J., and Coulson, D. (1975, April). Criterion referenced testing and measurement: A review of technical issues and developments. Symposium presented at the meeting of the American Educational Research Association, Washington, D.C.
Mason, E. S. (1939). Price and production policies of large-scale enterprise. The American Economic Review, 29(1), 61-74.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้