ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมีส่วนร่วมใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุ ของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
คำสำคัญ:
การรับรู้ประโยชน์, การรับรู้ความง่ายในการใช้, การรับรู้อิทธิพลจากสังคม, การรับรู้ถึงความเพลิดเพลินบทคัดย่อ
ปัจจุบันธุรกิจการให้บริการการขนส่งพัสดุมีการแข่งขันสูงขึ้นอันเนื่องจากพฤติกรรมผู้บริโภคมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมยุคดิจิทัลในการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มมากขึ้น การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมีส่วนร่วมใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย กลุ่มตัวอย่างคือผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่มีการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลออนไลน์มีจำนวน 384 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการทดลองพบว่าความสัมพันธ์ของของปัจจัยการรับรู้ประโยชน์ การรับรู้ความง่ายในการใช้บริการ การรับรู้อิทธิพลจากสังคม และการรับรู้ถึงความเพลิดเพลินที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมีส่วนร่วมใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยปัจจัยการรับรู้ความง่ายในการใช้บริการที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการมีส่วนร่วมใช้บริการธุรกิจขนส่งพัสดุของกลุ่มผู้ค้าอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยสูงสุดโดยสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.244 รองลงมาคือ ปัจจัยการรับรู้ประโยชน์มีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.225 ปัจจัยการรับรู้อิทธิพลจากสังคมมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.198 และปัจจัยการรับรู้ถึงความเพลิดเพลินมีค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยเท่ากับ 0.147 ตามลำดับ
References
ปฐมาพร เนตินันทน์. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะระดับการเปิดรับข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อออนไลน์กับพฤติกรรมการ บริโภคและการแสดงออกพฤติกรรมการบริโภคของตนเองด้วยการแบ่งปันข้อมูลการซื้อใช้ผ่านสื่อออนไลน์ของกลุ่ม “Gen Y”. Modern Management Journal, 14(2), 145-158.
รัศมิ์ลภัส วรเดชธนันกุล. (2558). ความไว้วางใจการสื่อสารแบบปากต่อปากเชิงบวก และการรับรู้ถึงประโยชน์ที่มีผลต่อความตั้งใจ ซื้อแพ็กเกจทัวร์ผ่านเว็บไซต์ท่องเที่ยวของผู้บริโภคในจังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2562). อัตราการเติบโตและการคาดการณ์การใช้จ่ายผ่านอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/th/Useful-Resource/publications/Value-of-e-Commerce-Survey-in-Thailand-2019.aspx
สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. (2563). รายงานภาวะอุตสาหกรรมรายปี ประจำปี 2563. สืบค้นจาก http://www.oie.go.th/assets/portals/1/fileups/2/files/Industry%20conditions/Q4-OctDec2562.pdf
Agrebi, S., & Jallais, J.. (2015). Explain the intention to use smartphones for mobile shopping. Journal of retailing and consumer services, 22(1), 16-23.
Amaro, S., & Duarte, P.. (2015). An integrative model of consumers' intentions to purchase travel online. Tourism management, (46), 64-79.
Davis, F. D.. (1989). Perceived usefulness, perceived ease of use, and user acceptance of information technology. MIS quarterly, 12(3), 319-340.
Dodds, W. B., Monroe, K. B., & Grewal, D.. (1991). Effects of price, brand, and store information on buyers’ product evaluations. Journal of marketing research, 28(3), 307-319.
Furnham, A., Gunter, B., & Walsh, D.. (1998). Effects of programme context on memory of humorous television commercials. Applied Cognitive Psychology, 12(6), 555-567.
Ghorban, Z. S.. (2012). Brand attitude, its antecedents and consequences, investigation into smartphone brands in Malaysia. Journal of Business and Management, 2(3), 31-35.
Kao, T. Y., Yang, M. H., Wu, J. T. B., & Cheng, Y. Y.. (2016). Co-creating value with consumers through social media. Journal of Services Marketing, 12(1), 35-44.
Kotler, S.. (2014). The rise of superman: Decoding the science of ultimate human performance. Houghton Mifflin Harcourt.
Likert, R. E. N. S.. (1972). Likert technique for attitude measurement, Social psychology: Experimentation theory research (pp. 132-153). Scranton, PA: Intext Educational Publishers.
Sallam, M. A., & Algammash, F. A.. (2016). The effect of attitude toward advertisement on attitude toward brand and purchase intention. International Journal of Economics, Commerce and Management, 4(2), 509-520.
Yamane, T. (1967). Statistics, An Introductory Analysis (pp. 232-243). New York: Harper and Row Publishers.
Yang, B., Fu, X., Sidiropoulos, N. D., & Hong, M.. (2017). Towards k-means-friendly spaces: Simultaneous deep learning and clustering. international conference on machine learning, 3(5), 3861-3870.
Venkatesh, V.. (2000). Determinants of perceived ease of use: Integrating control, intrinsic motivation, and emotion into the technology acceptance model. Information systems research, 11(4), 342-365.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้