การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่เงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน
คำสำคัญ:
การประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้, การท่องเที่ยว, อุทยานแห่งชาติแม่เงาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินขีดความสามารถในการรองรับได้ของแหล่งท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่เงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน ในการรองรับจำนวนนักท่องเที่ยวที่เข้ามาใช้บริการภายในอุทยานแห่งชาติแห่งชาติแม่เงา โดยได้ทำการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพ ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา และด้านสังคมจิตวิทยา จากการศึกษา พบว่า ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพ สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 94,365 คน/ปี ขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ 316,629 คน/ปี และจากสถิติจำนวนนักท่องเที่ยว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 - 2563 พบว่าในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนนักท่องเที่ยวมากที่สุดคือ 9,217 คน คิดเป็นร้อยละ 9.77 ของขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านกายภาพ และร้อยละ 2.91 ของขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งมีผลกระทบน้อยหรือจำนวนนักท่องเที่ยวยังต่ำกว่าขีดความสามารถในการรองรับได้ ทั้ง 2 ด้านนี้ สำหรับขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านชีวภาพหรือนิเวศวิทยา พบว่า การปกคลุมของรากไม้โผล่อยู่ที่ร้อยละ 34.62 ซึ่งระดับความรุนแรงของรากไม้โผล่อยู่ในระดับปานกลาง และการ ปกคลุมของพันธุ์พืชได้ทำการศึกษากรณีไม้หนุ่ม พบว่า ปลายสาน (Eurya acuminata DC.) มีผลกระทบมาก และกะอวม (Acronychia pedunculata (L.) Miq.) มีผลกระทบรุนแรง สำหรับกรณีกล้าไม้ (Seedling) พบว่า Litsea sp. มีผลกระทบมาก และข้าวสารป่า (Pavetta tomentosa Roxb. ex Sm.) มีผลกระทบรุนแรง และขีดความสามารถในการรองรับด้านสังคมจิตวิทยา พบว่า การรับรู้ถึงความรู้สึกแออัดต่อการมาท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติแม่เงา จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีค่าร้อยละ 14.70 ซึ่งมีผลกระทบอยู่ระดับน้อยหรือจำนวนนักท่องเที่ยวไม่เกินขีดความสามารถในการรองรับได้ด้านสังคมจิตวิทยานี้ด้วย
References
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2549). รายงานฉบับสุดท้าย โครงการศึกษาขีดความสามารถในการรองรับได้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี. สืบค้นจาก http://park.dnp.go.th/file/ขีดความสามารถ%20อช.เอราวัณ.pdf.
กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช. (2562). สถิตินักท่องเที่ยว ปี 2560 – 2563. สืบค้นจาก http://portal.dnp.go.th/Content/rescue?contentId=17712.
ดรรชนี เอมพันธุ์. (2546). หลักนันทนาการและการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ. เอกสารประกอบการสอนวิชา 308511. ภาควิชาอนุรักษวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
นิอร จิตรจง. (2560). การประเมินขีดความสามารถในการรองรับการท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติเขาสก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
บรรลือศักดิ์ วงษ์ภักดี. (2552). ขีดความสามารถในการรองรับการใช้ประโยชน์ด้านนันทนาการของอุทยานแห่งชาติเขาชะเมา-เขาวง (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ
พิมพ์ลภัส ขันหลวง. (2545). ผลกระทบทางจิตวิทยาและการกำหนดขีดความสามารถในการรองรับทางจิตวิทยาของแหล่งนันทนาการประเภทน้ำตก (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
หิรัญ หิรัญรัตนพงศ์, เอกนรินทร์ ธนะกิจไพรินท์, จิรัชยา ชานาญไพร และปิยนาถ ขุนศรี. (2560). การประเมินขีดความสามารถในการรองรับนักท่องเที่ยวของอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ (ส่วนรอยพระพุทธบาทพลวง). วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 22(3), 557-568. สืบค้นจาก http://ojslib3.buu.in.th/index.php/science/issue/view/620
อารีรัตน์ ภาคพิธเจริญ. (2548). ขีดความสามรถในการรองรับของแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน กรณีศึกษาหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บ้านทรงไทย จังหวัดสมุทรสงคราม (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
Bateson, J. and Hui, M. (1992). The Ecological Validity of Photographic Slides and Videotapes in Simulating the Service Setting. Journal of Consumer Research, 19, 271-281.
Kongkaew, C., Butrat, P., Pongsuwan, N., and Boupech, P. (2013). Carrying Capacity and Tourism Management Measures for Shallow Reef at Khai Nok Island, PhangNga Province. Environment and Natural Resources Journal, 11(1), 70-87. Retrieved from https://www.thaiscience.info/Journals/Article/ENRJ/10892145.pdf
Yamane, T. (1973). Statistics, An Introductory Analysis, (2nd ed.). New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ข้อความที่ปรากฎในวารสารฉบับนี้เป็นความคิดเห็นของผู้เขียนแต่ละท่าน สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย และกองบรรณาธิการ ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยและไม่มีส่วนรับผิดชอบใดๆ
สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย ขอให้ผู้อ่านอ้างอิงในกรณีที่ท่านคัดลอกเนื้อหาบทความในวารสารฉบับนี้